สองทศวรรษที่ผ่านมา หมุดหมายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้งถูกปักลงบนเส้นเวลาประวัติศาสตร์ ทุกเหตุการณ์มีปัจจัย มีผลสืบเนื่องกัน และไม่ต่างจากกรวดก้อนเล็กๆ ร่วงใส่ผืนน้ำที่คล้ายจะเรียบนิ่ง แรงกระเพื่อมของมันแผ่ออกเป็นระลอกกว้าง และเคลื่อนไหวต่อเนื่องเกินคาดถึง
การชุมนุมของพันธมิตร, รัฐประหารปี 49, การเกิดขึ้นของ นปช., สลายการชุมนุมปี 53, รัฐประหารปี 57 และหลายการยุบพรรค หลายการตัดสิทธิทางการเมือง
สำหรับคนที่ผ่านการเปลี่ยนฤดูมาหลายครั้ง หมุดบนเส้นเวลาอาจเป็นเพียงประสบการณ์ แต่กับคนเจเนอเรชันหนึ่งที่เกิด โต และถูกหล่อหลอมมากับการเปลี่ยนแปลง ชีวิตของคนรุ่นใหม่อาจเรียบนิ่ง ถูกปรามาสว่าส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชนชั้นกลางที่ผิวหนังสัมผัสน้ำร้อนช้ากว่า
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในความคิดอ่านนั้นมีระลอกคลื่นเคลื่อนไหวพลุ่งพล่าน
ความปรารถนาจะเห็นการเปลี่ยนแปลง สังคมที่ดีขึ้น วันที่ประชาชนทุกคนอยู่บนระนาบเท่าเทียม มีเสรีภาพที่พึงได้ มีสิทธิในการเป็นเจ้าของความคิดและลมหายใจของตัวเอง
การเมืองไม่ใช่เรื่องอื่นไกลและถูกผลักไสให้ห่างจากตัวเหมือนใครเขาว่า กับคนรุ่นที่เกิดและโตมากับเรื่อง ‘การเมือง’ เกือบทั้งชีวิต ไม่แปลกที่ระลอกคลื่นเล็กๆ นับล้านจะทำให้ผิวน้ำสะเทือน กวนมหาสมุทรรอวันตกตะกอน ให้เห็นเรื่องราวซ่อนเร้น ที่อาจเป็นมากกว่าฐานภูเขาน้ำแข็ง
รูปธรรมของเรื่องราวข้างต้นปรากฏบนท้องถนนในช่วงปี 2563-2564 การยุบพรรคอนาคตใหม่เป็นกรวดเล็กๆ ก้อนแรกที่ถูกโยนลงใส่ผิวมหาสมุทร จุดเริ่มต้นของเรื่องราวบนเส้นเวลา ไม่ว่าถูกหรือผิด หรือเหตุการณ์จะพลิกผันแบบไหน ดูเหมือนว่าปรากฏการณ์ ‘ปลดแอก’ ของ ‘ราษฎร’ จะสร้างประวัติศาสตร์ชุดใหม่ให้สังคมไทยได้เรียนรู้กันได้อีกหลายทศวรรษ
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ในคดีเงินกู้ 191 ล้าน และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค
เริ่มมีการเดินขบวนในมหาวิทยาลัย และโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ
การประท้วงเหล่านี้มีแฮชแท็กที่จำเพาะกับสถาบันของพวกตน ช่วงแรกๆ เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย เช่น ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง เกษตรศาสตร์ และศรีนครินทรวิโรฒ และมีบางโรงเรียนที่ประท้วงด้วย เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนศึกษานารีวิทยา อย่างไรก็ดี การประท้วงเหล่านี้จำกัดอยู่ในสถาบันของตนเท่านั้น
แฮชแท็กที่เกิดขึ้นในการประท้วงเดือนกุมภาพันธ์ เช่น ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป, ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้ #ลูกพ่อขุนไม่รับใช้เผด็จการ, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ใช้ #เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ, ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้ #มศวคนรุ่นเปลี่ยน อีกจำนวนหนึ่งใช้แสดงออกถึงความเป็นปรปักษ์กับกลุ่มผู้สนับสนุนเผด็จการ เช่น #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ, #KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์, #ศาลายางดกินของหวานหลายสี, #พระจอมเกล้าชอบกินเหล้าไม่ชอบกินสลิ่ม
จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้การประท้วงหยุดไป และมีคำสั่งปิดสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อควบคุมโรค โดยให้จัดการเรียนการสอนทางออนไลน์แทน
สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า สนท. ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมประท้วงออนไลน์ โดยการถ่ายรูปถือป้ายแสดงความรู้สึกต่อรัฐบาล พร้อมติด #MobFromHome ''โควิดหายมาไล่รัฐบาลกันไหม?'' ทำให้ 25 เมษายน #MobFromHome พุ่งติดเทรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ประเทศไทย
การประท้วงครั้งใหญ่เริ่มต้นขึ้นในครึ่งปีหลัง เมื่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลงกว่าเดิมบ้าง ประชาชนจำนวนมาก นำโดยเยาวชนและนักศึกษา ออกมารวมตัวกันบนท้องถนนในสถานที่ต่างๆ ทั้งการชุมนุมยืดเยื้อ จัดเป็นเทศกาล หรือการใช้เทคนิคแฟลชม็อบหลายต่อหลายครั้ง ระลอกใหญ่ของการชุมนุมครั้งประวัติศาสตร์เริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม
นักศึกษาและประชาชน นำโดย พริษฐ์ ชิวารักษ์ จัดชุมนุมที่ลานสกายวอล์ก หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แฮชแท็กประจำวันนั้นคือ #Saveวันเฉลิม
การเดินขบวนตามถนนครั้งใหญ่สุดนับแต่รัฐประหารปี 2557 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สาเหตุคือการบริหารงานที่ย่ำแย่ของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
การชุมนุมใหญ่ครั้งแรกนี้ นำโดยกลุ่ม ‘เยาวชนปลดแอก’ (Free Youth) ที่ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการ ได้แก่ 1. การยุบสภาผู้แทนราษฎร 2. การหยุดคุกคามประชาชน และ 3. การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผ่านไปหนึ่งวัน กระแสตอบรับคลื่นการชุมนุมเกิดขึ้นที่เชียงใหม่ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ร่วมกิจกรรมแฟลชม็อบ #คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo ที่ประตูท่าแพ ชูข้อเรียกร้อง 3 ข้อเช่นเดียวกับเยาวชนปลดแอก
นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมตัวชุมนุมบริเวณสวนสาธารณะบึงพระราม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป โดยยึด 3 ข้อเสนอของ ‘เยาวชนปลดแอก’ เช่นเดียวกัน
กลุ่ม #เสรีเทยพลัส จัดกิจกรรม #ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ล้อกับข้อความบนเฟซบุ๊กของ ผู้พันเจี๊ยบ-พันเอกหญิงนุสรา วรภัทราทร ที่ว่า "ม็อบมุ้งมิ้งของน้องๆ เนี่ย ตีกันเอง ระแวงกันเอง จนสลายชุมนุมกันเอง"
การชุมนุมที่มีสีสันและความบันเทิงนี้มีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1. การยุบสภาผู้แทนราษฎร 2. การหยุดคุกคามประชาชน และ 3. การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เช่นเดียวกับเยาวชนปลดแอก และมีเพิ่มอีกข้อคือ 4. เรียกร้องการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิด #สมรสเท่าเทียม
กลุ่ม ‘อาชีวะช่วยชาติ’ นัดรวมพลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่ออ่านแถลงการณ์โจมตีการชุมนุมของกลุ่ม ‘เยาวชนปลดแอก’ ว่าเป็นไปเพื่อ "ท้าทาย ต่อต้าน หรือกระทั่งล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์..."
การชุมนุมเริ่มกล่าวถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย
กลุ่มเยาวชนปลดแอกยกระดับการชุมนุม และตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อ ‘คณะประชาชนปลดแอก’ (Free People) เพื่อปลดล็อกคำว่า ‘เยาวชน’ เชิญชวนประชาชนทุกเพศทุกวัยมาร่วมชุมนุม
iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เริ่มจัดกิจกรรมรวบรวมรายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
หลังถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม และได้รับการประกันตัว อานนท์ นำภา เดินทางไปปราศรัยในการชุมนุม #เชียงใหม่จะไม่ทน ที่ประตูท่าแพ ประกาศยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง 1. การยุบสภาผู้แทนราษฎร 2. การหยุดคุกคามประชาชน และ 3. การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเชิญชวนประชาชนไปชุมนุมใหญ่ที่ถนนราชดำเนิน วันที่ 16 สิงหาคม
ผู้โดนคดี 112 อานนท์ นำภา
การชุมนุมครั้งใหญ่ #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการชูประเด็น "เราไม่ต้องการปฏิรูป เราต้องการปฏิวัติ" และ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ประกาศข้อเสนอ 10 ข้อเพื่อปฏิรูปสถาบันฯ เป็นการชุมนุมครั้งแรกที่มีการเสนอข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันฯ อย่างตรงไปตรงมา
คณะประชาชนปลดแอกจัดการชุมนุม ‘ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ’ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีผู้ร่วมชุมนุมเข้าร่วมจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่การรัฐประหาร คสช. โดยแกนนำย้ำ ‘3 ข้อเรียกร้อง 2 หลักการ และ 1 ความฝัน’
สามข้อเรียกร้อง คือหนึ่งความฝัน คือ การมีระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
17-18 สิงหาคม 2563เกิดปรากฏการณ์นักเรียนมัธยม ‘ชูสามนิ้ว’ และติดโบขาวต้านเผด็จการในอย่างน้อย 16 จังหวัด
ต่อเนื่องจากกิจกรรมผูกโบขาวต่อต้านระบบอำนาจนิยมในโรงเรียน กลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ จัดกิจกรรม ‘ผูกโบขาว ชูสามนิ้ว เป่านกหวีดไล่รัฐมนตรี’ บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับไล่ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตแกนนำ กปปส.
อีกฟากหนึ่ง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เปิดตัวกลุ่ม ‘ไทยภักดี’ เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานผู้ปกป้องสถาบันฯ
ผุดเวทีชุมนุมในจังหวัดต่างๆ พุ่งเป้าเข้าสู่การชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ
กลุ่ม ‘ขอนแก่นพอกันที’ และนักเรียน นักศึกษา รวมตัวจัดกิจกรรมใน #จัดม็อบไล่แม่งเลย บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น ยังคงย้ำจุดยืนเดิม 3 ข้อ และมีแกนนำอย่าง เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ ร่วมขึ้นเวทีปราศรัยด้วย
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์
กลุ่มเยาวชน ประชาชน เพื่ออยุธยา เพื่อประชาธิปไตย จัดการชุมนุม ‘เพื่อปรีดี เพื่ออยุธยา เพื่อประชาธิปไตย’ #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป หน้าศาลากลางหลังเก่า จังหวัดอยุธยา โดยมีแกนนำ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ ไมค์ ระยอง-ภาณุพงศ์ จาดนอก จากกลุ่มเยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย ร่วมปราศรัยและเชิญชวนประชาชนร่วมชุมนุมใหญ่ วันที่ 19 กันยายน
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
เวที #สมุทรปราการดีดนิ้วไล่เผด็จการ จัดขึ้นบริเวณข้างหอชมเมืองสมุทรปราการ การปราศรัยเน้นจุดยืน 3 ข้อเรียกร้องหลัก และ 10 ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปสถาบันฯ โดย เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ เดินทางมาร่วมงาน
‘สหภาพร้อยเอ็ดปลดแอก' จัดชุมนุม #เจาะกะลาตามหาบักคำผาน ที่ลานหน้าบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มี 5 ข้อเรียกร้องคือ 1. หยุดคุกคามประชาชน 2. ส.ว. ต้องลาออกภายในเดือนกันยายน 3. ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 4. ยุบสภาฯ และ 5. ปฏิรูปสถาบันฯ
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์
การชุมนุมจัดขึ้นบริเวณท่าน้ำนนทบุรี กับชื่อ #คนนนท์ไม่ทนเผด็จการ มีเวทีเล่นดนตรีและปราศรัยในประเด็นต่างๆ ผู้เข้าร่วมมีทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชน โดยมี เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ ไมค์ ระยอง-ภาณุพงศ์ จาดนอก ร่วมเวทีด้วย
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลภาณุพงศ์ จาดนอก
กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดการชุมนุมใหญ่ในวาระครบรอบ 14 ปีการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ในชื่อ ‘19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร’ ที่ท้องสนามหลวง โดยคาดการณ์ว่ามีผู้ชุมนุมถึงหลักแสน
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์ อานนท์ นำภา สมยศ พฤกษาเกษมสุข ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ภาณุพงศ์ จาดนอก ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลนรินทร์ (สงวนนามสกุล)ณัฐชนน ไพโรจน์
กลุ่มประชาชน นำโดย iLaw เดินจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเตาปูนไปรัฐสภา พร้อมแนบรายชื่อประชาชน 100,732 รายชื่อ เพื่อยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติ 432 ต่อ 255 เสียง ให้ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ 30 วัน เป็นผลให้เลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไปอย่างน้อย 1 เดือน
นอกรัฐสภา ‘คณะประชาชนปลดแอก’ และ ‘กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ชุมนุมในชื่อกิจกรรม ‘ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา’ และคืนเดียวกัน แฮชแท็ก #RepublicofThailand (สาธารณรัฐไทย) ก็อยู่ในอันดับ 1 ของเทรนด์ทวิตเตอร์
ผู้โดนคดี 112จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผลชนินทร์ วงษ์ศรีเกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี
กลุ่มนักเรียนมัธยม ‘นักเรียนเลว’ จัดการประท้วงในโรงเรียนหลายแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงการละเมิดนักเรียน และนัดชุมนุมกันที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเรียกร้องให้ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลาออกอีกครั้ง
แฟลชม็อบและการตั้ง 'กลุ่มราษฎร'
‘คณะราษฎร 2563’ ชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนินใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการปราศรัยบนรถ แอมมี่-ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ไผ่ ดาวดิน-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา สาดสีน้ำเงินใส่ตำรวจ ต่อมาผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งชูสามนิ้วประท้วงขบวนเสด็จฯ ก่อนตำรวจบุกเข้ารื้อเต็นท์และเวทีปราศรัย ทำให้มีผู้ชุมนุมถูกจับกุม 21 คน รวมทั้งไผ่และแอมมี่
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งห้ามชุมนุม และจำกัดการนำเสนอข่าว รวมถึงจัดตั้ง กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ขึ้นมาควบคุมสถานการณ์ ต่อมาตำรวจใช้อำนาจนี้เข้าสลายการชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้า มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 20 คน รวมถึง 3 แกนนำ อานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
แฮชแท็ก #15ตุลาไปราชประสงค์ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 โดยในช่วงเย็นมีผู้เข้าร่วมประมาณ 13,500 คน มีผู้ถูกจับกุมเพิ่มอีกอย่างน้อย 20 คน แต่ผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะประท้วงอย่างสันติต่อไป โดยใช้ยุทธวิธีแฟลชม็อบ
ผู้ประท้วง 2,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมัธยมและนักศึกษา จัดแฟลชม็อบที่แยกปทุมวัน แต่ถูกตำรวจสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงเป็นครั้งแรก ด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง มีรายงานว่าเป็นน้ำผสมสารเคมี และแก๊สน้ำตา จนสลายการชุมนุมได้ราว 23.00 น. เหตุการณ์นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม
ผู้ชุมนุม ‘คณะราษฎร 2563’ ปรับขบวนการเคลื่อนไหวใหม่ในชื่อ ‘กลุ่มราษฎร’ โดยเป็นการจัดการชุมนุมแบบไร้แกนนำ เพราะ ‘ทุกคนคือแกนนำ’ ทำให้เกิดแฟลชม็อบหลายจุดในกรุงเทพฯ ผ่านการนัดหมายและแจ้งข่าวทางโซเชียลมีเดีย พี้นที่การชุมนุมหลักคือ ห้าแยกลาดพร้าว อุดมสุข และวงเวียนใหญ่ ทำให้รัฐบาลมีคำสั่งปิดระบบขนส่งมวลชน
นายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลสนับสนุนให้เปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อหาทางออกให้ประเทศจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ช่วงเย็น ‘เยาวชนปลดแอก’ นัดแฟลชม็อบ 3 จุดในกรุงเทพฯ ได้แก่ แยกเกษตร เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และสถานี MRT กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มคณะราษฎรนัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนเคลื่อนไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่ง แต่ถูกตั้งเครื่องกีดขวางอย่างแน่นหนาและมีฝ่ายตรงข้ามพยายามขวาง
วันเดียวกัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ เรียกร้องให้ทุกฝ่าย "ถอยคนละก้าว"
เกิดเหตุการณ์กลุ่มชายชุดเหลืองที่ประกาศตนว่าสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อเหตุฝ่าแนวกั้นตำรวจเข้าทำร้ายกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีนักศึกษาได้รับบาดเจ็บหนึ่งคน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในกรุงเทพฯ
นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ แกนนำ ‘องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน’ นัดประชาชนสวมเสื้อสีเหลืองรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังปกป้องสถาบันฯ ณ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
หลังถูกปล่อยตัวในวันที่ 23 ตุลาคม ไผ่ ดาวดิน-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นัดจัดการชุมนุม ‘กลุ่มราษฎร’ ในวันที่ 25 ตุลาคม ที่แยกราชประสงค์ ประยุทธ์ไม่ลาออกจากตำแหน่งตามกำหนด จึงยกระดับการชุมนุม
ผู้ชุมนุมเดินขบวนจากแยกสามย่านไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี เพื่อยื่นหนังสือสอบถามเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจและการประทับในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ของในหลวงรัชกาลที่ 10
ผู้โดนคดี 112ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผลกรกช แสงเย็นพันธ์ ชนินทร์ วงษ์ศรีชลธิศ โชติศักดิ์เบนจา อะปัญวัชรากร ไชยแก้วณวรรษ เลี้ยงวัฒนาอรรถพล บัวพัฒน์อัครพล ตีบไธสงสุธินี จ่างพิพัฒน์นวกิจรวิศรา เอกสกุลโจเซฟ (สงวนชื่อสกุล) เอ (สงวนชื่อสกุล)
มวลชนเสื้อเหลืองหลายกลุ่มแสดงพลังปกป้องสถาบันกษัตริย์ ช่วงเช้า อุ๊-หฤทัย ม่วงบุญศรี รวมตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ เรียกร้องให้สหรัฐฯ ‘เคารพในกิจการภายในของประเทศไทย’ เพราะเชื่อว่ามีต่างประเทศอยู่เบื้องหลังการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์
ปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ2พฤศจิกา ที่สถานี MRT ท่าพระ โดยกลุ่มราษฎรฝั่งธน ช่วงใกล้ 18.00 น. มีผู้ไม่หวังดีใช้ระเบิดปิงปองเพื่อสร้างสถานการณ์ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
ผู้โดนคดี 112ชูเกียรติ แสงวงค์
มีการประท้วงหน้าศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประท้วงการสั่งปิดเว็บไซต์สื่อลามก พอร์นฮับ
กลุ่มราษฎรจัดกิจกรรมส่งราษฎรสาส์นถึงพระมหากษัตริย์ที่สำนักพระราชวัง แต่ถูกตำรวจฉีดน้ำสกัดก่อนถึงที่หมายโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและยังไม่ทันเจรจา จนสุดท้ายได้หย่อนจดหมายที่ตู้ไปรษณีย์จำลองโดยไปไม่ถึงสำนักพระราชวัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 คน เป็นเจ้าหน้าที่ 1 คน
ผู้โดนคดี 112พริษฐ์ ชิวารักษ์ อานนท์ นำภาปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
รัฐสภาเริ่มต้นการประชุมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำมาสู่การประท้วงนอกอาคารรัฐสภา ผู้ประท้วงพยายามเข้าใกล้อาคาร แต่ถูกตำรวจสกัดด้วยปืนใหญ่ฉีดน้ำและแก๊สน้ำตา มีผู้บาดเจ็บ 55 คน ต่อมาในช่วงค่ำ เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับมวลชนสวมเสื้อสีเหลือง มีการใช้อาวุธปืนยิงจนมีผู้บาดเจ็บ 6 คน
ผู้โดนคดี 112อานนท์ นำภา
รัฐสภาลงมติรับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ซึ่งให้มีวุฒิสภาต่อไป และห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 แต่ปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ iLaw ยกร่าง
ผู้ชุมนุมไม่พอใจประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ จึงจัดชุมนุมที่แยกราชประสงค์อีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 #ม็อบ18พฤศจิกา โดยเปลี่ยนชื่อเป็น ‘แยกราษฎรประสงค์’ เดินขบวนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสาดสีและเติมรอยขูดขีดเขียนในบริเวณดังกล่าว
ผู้โดนคดี 112ชูเกียรติ แสงวงค์สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ
กลุ่มนักเรียนเลวจัดกิจกรรม "บ๊ายบายไดโนเสาร์" หมายถึงสมาชิกรัฐสภาที่มีความคิดล้าสมัย ผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมากอยู่ในชุดนักเรียน ในกิจกรรมมีหญิงใส่ชุดนักเรียนถือกระดาษมีข้อความว่า "หนูถูกครูทำอนาจาร ร.ร.ไม่ใช่สถานที่ปลอดภัย"
ผู้โดนคดี 112วรรณวลี ธรรมสัตยาหนึ่ง นักศึกษา (นามสมมติ) น้ำ นักศึกษา (นามสมมติ)
มีการปล่อยข่าวว่ากลุ่มราษฎรจะเดินทางไปรวมตัวที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำให้เจ้าหน้าที่ขนตู้คอนเทนเนอร์และกั้นลวดหนามปิดถนนหลายเส้น พร้อมติดตั้งป้ายเขตพระราชฐาน ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการชุมนุม ‘ปาร์ตี้ริมเขา เป่าเค้กวันเกิด พลเรือเอกก๊าบๆ’ ลานหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้โดนคดี 112 (จากการปราศรัยที่เชียงใหม่)อานนท์ นำภาพริษฐ์ ชิวารักษ์
เปลี่ยนจากแผนเดิมที่จุดหมายเดิม สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ การชุมนุมจริงถูกจัดขึ้นที่หน้า เอสซีบีปาร์ค พลาซา ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ #ม็อบ25พฤศจิกาไปscb พริษฐ์ ชิวารักษ์ เสนอรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 และให้แยกทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกจากกัน
จากนั้นในช่วงดึกเกิดเสียงระเบิดและเสียงปืนดังขึ้นในบริเวณที่ชุมนุม มีการ์ดผู้ชุมนุมถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และนำตัวส่งโรงพยาบาล 2 คน คนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ท้อง และต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ด้านผู้ชุมนุมจับตัวผู้ต้องสงสัยไว้ได้ ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่าตำรวจเข้าระงับเหตุล่าช้า
ผู้โดนคดี 112พริษฐ์ ชิวารักษ์อานนท์ นำภาภาณุพงศ์ จาดนอกพงศธรณ์ ตันเจริญชินวัตร จันทร์กระจ่างพรหมศร วีระธรรมจารีวรรณวลี ธรรมสัตยาณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
สืบเนื่องจากกระแสว่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น กลุ่มราษฎรจึงจัดกิจกรรม ‘ซ้อมต้านรัฐประหาร’ ที่ห้าแยกลาดพร้าว ภาณุพงศ์ จาดนอก ขึ้นเวทีปราศรัยวิธีการต่อต้านรัฐประหาร โดยนำรถยนต์ไปจอดทิ้งไว้บนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อขัดขวางการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ รวมทั้งรวมตัวกันขัดขืนคำสั่งของคณะรัฐประหาร
กลุ่มราษฎรจัดชุมนุมเดินขบวนจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ไปยังกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแผนจากเดิมที่จะจัดชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ซึ่งตำรวจได้ล้อมรั้วลวดหนามและตู้คอนเทนเนอร์ไว้โดยรอบ และเมื่อถึงกรมทหารราบที่ 11 แกนนำได้อ่านแถลงการณ์เกี่ยวกับการถ่ายโอนอำนาจของกองกำลังทหารให้คืนสู่ต้นสังกัดเดิม
ผู้โดนคดี 112อานนท์ นำภาพริษฐ์ ชิวารักษ์อินทิรา เจริญปุระ ณัฏฐธิดา มีวังปลา สมยศ พฤกษาเกษมสุขชินวัตร จันทร์กระจ่าง พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ พรหมศร วีระธรรมจารี
กลุ่มราษฎรจัดชุมนุมอีกครั้งที่ห้าแยกลาดพร้าว #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เพื่อประท้วงและวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้กระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเข้าพักอาศัยในบ้านพักราชการทหาร
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์อานนท์ นำภาภาณุพงศ์ จาดนอกชินวัตร จันทร์กระจ่างปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลจิรฐิตา (สงวนนามสกุล) คริษฐ์ (สงวนนามสกุล)
#ม็อบ6ธันวา การชุมนุมบนถนนลาดหญ้า ใกล้ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ คณะราษฎรฝั่งธนบุรี เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ร่วมปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาล
ผู้โดนคดี 112 ชูเกียรติ แสงวงค์วรรณวลี ธรรมสัตยาธนกร (สงวนนามสกุล) เยาวชนอายุ 17 ปี
วันรัฐธรรมนูญ และวันสิทธิมนุษยชนสากล มีกิจกรรมเกิดขึ้น 2 จุด ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว มีการอ่านแถลงการณ์ ซึ่งมี เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นแกนนำอ่านแถลงการณ์เรียกร้องยกเลิกมาตรา 112 จากนั้นแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กับ Mob Fest จัดกิจกรรมชุมนุมต่อเนื่องถึงช่วงเย็น
ขณะที่สหประชาชาติ กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อกดดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 112 และยุติการดำเนินคดีคณะราษฎรทุกคน
กิจกรรมแต่งตัวไปเดินห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
ผู้โดนคดี 112 พริษฐ์ ชิวารักษ์ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลภาณุพงศ์ จาดนอกเบนจา อะปัญภวัต หิรัณย์ภณ ธนกร เยาวชนอายุ 17 ปีณัฐ เยาวชนอายุ 17 ปี
ปลายปี 2563 โควิด-19 ระบาดระลอกที่ 2 ทำให้คลื่นการชุมนุมหยุดชะงักอีกครั้ง ขณะที่กระแสโจมตีรัฐบาลในประเด็นการแก้ไขปัญหาโรคระบาด การจัดหาวัคซีน และปัญหาเศรษฐกิจ ยังคงทวีความรุนแรงอยู่ในโซเชียลมีเดีย
ปราศรัยที่ สภ.คลองหลวง ระหว่างติดตามการจับกุม นิว สิริชัย สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จากหมายจับคดี ม.112 #saveนิวมธ
ผู้โดนคดี 112พริษฐ์ ชิวารักษ์ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลภาณุพงศ์ จาดนอกณวรรษ เลี้ยงวัฒนาณัฐชนน ไพโรจนชลธิศ โชติสวัสดิพรหมศร วีระธรรมจารีเบนจา อะปัญศศลักษณ์ เยาวชนอายุ 17 ปีไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
#ม็อบ16มกรา กลุ่ม ‘การ์ดปลดแอก’ จัดกิจกรรม ‘112 เมตรกับความทุเรศของรัฐบาล’ ที่บริเวณเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยเขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลบนป้ายผ้ายาว 112 เมตร ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศให้ยุติการชุมนุม เพราะมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคฯ มีผู้ชุมนุมถูกจับไปที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 จังหวัดปทุมธานี
จากนั้นช่วงเย็นการชุมนุมได้เคลื่อนไปที่หน้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อกดดันให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับ มีเสียงระเบิดดังขึ้นหน้าห้างจามจุรีสแควร์ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
ปราศรัยการชุมนุม #ม็อบ25มกรา #กระชากหน้ากากไบโอไซน์ ที่ทำการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ อาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ถูกล้อมรั้วไว้ โดยให้เหตุผลว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล และมีความเสี่ยงต่อโรคระบาด
ผู้โดนคดี 112พริษฐ์ ชิวารักษ์ เบนจา อะปัญ
การชุมนุมครั้งใหม่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่ใช้เป็นข้ออ้างควบคุมม็อบ
กลุ่มราษฎรกลับมาจัดการชุมนุมอีกครั้งในรอบ 3 เดือน ในชื่อ ‘รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ’ บนสกายวอล์ก แยกปทุมวัน ผู้ชุมนุมนำหม้อ จาน ชาม มาตีและเคาะ เลียนแบบการประท้วงรัฐประหารในพม่าและลาตินอเมริกา โจมตีรัฐบาลว่าแก้ปัญหาโรคระบาดล่าช้า เศรษฐกิจล้มเหลว ประชาชนตกงาน
ช่วงค่ำ ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยัง สน.ปทุมวัน เพื่อติดตามผู้ถูกจับกุมไปจากพื้นที่ชุมนุมสกายวอล์ก จนเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ผู้ประท้วงจัดกิจกรรมปราศรัย และห่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยด้วยผ้าแดง #ม็อบ13กุมภา หรือ ‘นับ 1 ถึงล้าน คืนอำนาจให้ประชาชน’ ก่อนเคลื่อนไปยังศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ในเวลาหัวค่ำ หลังเลิกชุมนุมตามประกาศของแกนนำ เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมที่เหลืออยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียว่า ผู้สวมชุดแพทย์อาสาถูกตำรวจรุมทำร้าย ทำให้แฮชแท็ก #ตำรวจกระทืบหมอ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์
ผู้โดนคดี 112ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
กลุ่ม REDEM (Restart Democracy) ซึ่งแยกจากเยาวชนปลดแอก (แต่ยังใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียร่วมกัน) เปิดตัววันที่ 24 กุมภาพันธ์ เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปชุมนุมประท้วงโดยไม่มีแกนนำที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ที่ตั้งของบ้านพักของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ช่วงค่ำ แกนนำยุติการชุมนุมเวลาประมาณ 21.30 น. แต่ผู้ชุมนุมบางส่วนยังอยู่ต่อ และถูกสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำแรงดันสูง และเป็นครั้งแรกที่ใช้กระสุนยาง
อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหา 5 รายในคดีที่ตำรวจอ้างว่า ได้พยายามชิงตัวผู้ต้องหา พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ ภาณุพงศ์ จาดนอก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 โดยผู้พิพากษาไม่ให้ประกันตัว
ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM เดินขบวนจากห้าแยกลาดพร้าวไปยังศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก และได้เผาขยะหน้าศาลเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า การชุมนุมเข้าข่ายละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเสี่ยงต่อการระบาดของโควิด-19 จึงขอให้ยุติการชุมนุม
ในวันเดียวกัน โตโต้-ปิยรัฐ จงเทพ หัวหน้ากลุ่มการ์ด Wevo และสมาชิกอีกหลายคน ถูกควบคุมตัวโดยอ้างว่าเตรียมก่อเหตุวุ่นวาย แต่ไม่มีหมายจับ บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน แต่ขณะที่รถเคลื่อนย้ายผู้ถูกจับกุมเคลื่อนออกจากเมเจอร์รัชโยธิน เกิดเหตุชุลมุนจากการล้อมรถโดยการ์ด REDEM และการ์ดราษฎร จนผู้ถูกจับกุมบางส่วนหลบหนีไป
เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ ประกาศอดอาหาร ขณะถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชทัณฑ์
มีการจัดการชุมนุมของกลุ่ม REDEM ที่ท้องสนามหลวง หน้าพระบรมมหาราชวัง เจ้าหน้าที่ตั้งเครื่องกีดขวางเป็นตู้คอนเทนเนอร์และรั้วลวดหนาม เหตุปะทะระหว่างผู้ชุมนุมบางส่วนกับตำรวจควบคุมฝูงชนเริ่มต้นประมาณ 18.30 น. เมื่อผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งพยายามรื้อเครื่องกีดขวาง ตำรวจใช้ไม้กระบองทุบตี เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง กับผู้ประท้วง มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งสื่อมวลชน
ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ถูกต้อนให้ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า ส่วนที่เหลือยังคงปะทะกับเจ้าหน้าที่บริเวณแยกคอกวัว มีการเผายาง ยิงแก๊สน้ำตา และกระสุนยางต่อเนื่อง ศูนย์เอราวัณรายงานจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บที่ 33 คน เป็นเจ้าหน้าที่ 13 นาย ประชาชน 20 คน ถูกจับกุมรวม 32 คน
ผู้โดนคดี 112ชูเกียรติ แสงวงค์ เยาวชนอายุ 15 ปี เยาวชนอายุ 14 ปี
มีการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร เช่น ชูสามนิ้ว ร้องเพลงชาติ
กลุ่ม ‘พลเมืองโต้กลับ’ จัดกิจกรรม ‘ยืนหยุดขัง’ นัดรวมกลุ่มยืนนิ่งเป็นเวลา 112 นาที เป็นวันแรก เริ่มต้นที่ศาลฎีกา ก่อนจะกระจายหลายจุด ตามสถานศึกษา สถานที่ราชการ และสำนักงานองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด กิจกรรมนี้ดำเนินต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี
กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เป็นการชุมนุมที่กลับมาใช้รูปแบบตั้งเวทีและมีแกนนำ ใช้แฮชแท็ก #ม็อบ24มีนา #เพราะประเทศนี้เป็นของราษฎร นับเป็นการชุมนุมที่นี่เป็นครั้งที่ 5 ของกลุ่มราษฎร มีการติดภาพวาดใบหน้าของผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้านี้ทับป้ายชื่อแยก และภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำหลักในการปราศรัย ต้องไปฟังคำสั่งฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 ในวันรุ่งขึ้น
ผู้โดนคดี 112ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เริ่มอดอาหาร ขณะถูกควบคุมตัวที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
ศาลให้ประกัน อานนท์ นำภา และ ไมค์ ระยอง-ภานุพงศ์ จาดนอก ทำให้แกนนำราษฎรจากคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 ถูกปล่อยครบหมดแล้ว และพบว่ามีหลายคนติดโควิด-19 จากเรือนจำ
พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำกลุ่มราษฎร พร้อมด้วยมวลชนและผู้ค้า ภายหลังมีคำสั่ง ศบค. ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากเดือดร้อนได้รับผลกระทบ พร้อมยืนยันเจตนารมณ์ในการขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมในนาม ‘เยาวชนปลดแอก’ มีการชุมนุมของกลุ่ม Free YOUTH และแนวร่วม รวมทั้ง ‘คาร์ม็อบ’ ภายใต้การนำของ บก.ลายจุด-สมบัติ บุญงามอนงค์ ตั้งขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออก เนื่องจากบริหารสถานการณ์โควิด-19 ผิดพลาด 2. ปรับลดงบประมาณสถาบันฯ-กองทัพสู้โควิด และ 3. เปลี่ยนวัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีน mRNA
ช่วงเย็นมีการสลายการชุมนุมด้วยการฉีดน้ำ แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่ม Free Youth ที่ถนนราชดำเนินนอกและถนนพิษณุโลก มีสื่อมวลชนหลายคนได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยาง
มีการชุมนุมคาร์ม็อบอีกครั้ง กับชื่อ ‘สมบัติทัวร์’ โดย สมบัติ บุญงามอนงค์ ร่วมกับกลุ่มราษฎร แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มทะลุฟ้า #ม็อบ1สิงหา เพื่อขับไล่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ช่วงเย็น มีการสลายการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ทั้งการใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และมีการตั้งข้อสงสัยว่ามีการใช้กระสุนยางในระยะประชิดหรือไม่
มีการจัดกิจกรรมหน้าหอศิลป์ฯ กทม. ครบรอบ 1 ปีของ ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาชน’ หรือ ม็อบแฮร์รี พอตเตอร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน พูดถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ในครั้งนี้ทนายอานนท์ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ยืนยันหลักการและข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ
เยาวชนปลดแอก (Free Youth) จัดการชุมนุมตลอดวัน #ม็อบ7สิงหา ย้ายสถานที่จากจุดตั้งต้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เคลื่อนไปทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีเป้าที่กรมทหารราบที่ 1 ระหว่างทาเกิดการปะทะหลายจุด เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนฉีดน้ำแรงดันสูง และระดมยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง มีรถควบคุมตัวผู้ต้องขังถูกเผา
แม้จะประกาศยุติการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเย็น แต่ยังมีการปะทะอยู่ที่สามเหลี่ยมดินแดงและซอยรางน้ำ ตามมาด้วยประเด็นถกเถียงในโซเชียลมีเดียเรื่องความรุนแรง วิจารณ์กลุ่ม Free Youth จนเกิดแฮชแท็ก #แบนFreeYouth