Humberger Menu

มหากาพย์การบินไทย เส้นทางดิ้นรนหนีล้มละลาย สู่วันนี้ที่มีกำไร?

5 มี.ค. 2564 09:00 น. 17 ภาพ

มหากาพย์การบินไทย เส้นทางดิ้นรนหนีล้มละลาย สู่วันนี้ที่มีกำไร?

Politics & Society

Economy

Economy

18 ส.ค. 64

creator
รุ่งนภา พิมมะศรี
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

สังคมไทยตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า สายการบินแห่งชาติมีไว้ทำไม? รัฐบาลควรเลิกอุ้มการบินไทยได้แล้วหรือยัง? หลังการบินไทยอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ ขาดทุนต่อเนื่องหลายปี มีหนี้สินหลายแสนล้าน ขณะที่ความสามารถทำรายได้ในภาวะโควิด-19 นั้นต่ำเตี้ย

กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และกระทรวงคมนาคม ในฐานะกระทรวงที่กำกับดูแลการบินไทย ต่อสู้วัดพลังกันอยู่ระยะหนึ่ง ครม. จึงมีมติให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ โดยให้กระทรวงคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น ให้การบินไทยพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจก่อน จากนั้นจึงยื่นต่อศาลล้มละลายกลางขอฟื้นฟูกิจการ

แผนฟื้นฟูการบินไทยถูกแก้ไขหลายครั้งหลายหน ทั้งโดยผู้ทำแผนและโดยเจ้าหนี้บางส่วนในจำนวนทั้งหมดกว่า 13,000 ราย รวมแล้วมีแผนฟื้นฟูฉบับแก้ไขถึง 15 ฉบับ

ในวันตัดสินชะตา 19 พฤษภาคม 2564 เจ้าหนี้ลงมติรับแผนฟื้นฟูกิจการให้การบินไทยเดินหน้าฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แต่สิ่งที่สังคมยังจับตามองคือ อดีตสายการบินแห่งชาติที่อยู่คู่เมืองไทยมา 61 ปี จะได้กลับเข้าสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ตามที่การบินไทยร้องขอให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นคืน

ไทยรัฐพลัสสรุปไทม์ไลน์มหากาพย์การบินไทย จากข่าวที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและไทยรัฐออนไลน์เกาะติดนำเสนอมาตลอดเวลา 1 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีข่าวว่าการบินไทยกำลังแย่เพราะโควิด-19 มาจนถึงวันที่การบินไทยเริ่มกระบวนฟื้นฟูกิจการ

LATEST

+
ยกฟ้องผู้ผลิตสปายแวร์ Pegasus เพราะไม่พบหลักฐานการละเมิด สรุปว่ารัฐสอดแนมประชาชนจริงหรือไม่?

Politics & Society

สถานการณ์วายป่วงเมื่อสำนักข่าวปลอมจอมเสียดสี The Onion ซื้อเว็บข่าวสมคบคิด Infowars

22 พ.ย. 67

World
สถานการณ์วายป่วงเมื่อสำนักข่าวปลอมจอมเสียดสี The Onion ซื้อเว็บข่าวสมคบคิด Infowars
morebutton read more

หนี้ท่วม ป่วยโคม่า

การบินไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากผู้ป่วยเรื้อรังยกระดับเป็นผู้ป่วยวิกฤติ ร้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ กระทรวงการคลังจะช่วยอุ้ม กระทรวงคมนาคมเบรก

กุมภาพันธ์ 2563

สิ้นปี 2562 การบินไทยมีหนี้สินรวมราว 240,000 ล้านบาท สถานการณ์โรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในช่วงต้นปี 2563 เป็นเหตุให้การบินไทยต้องปรับลดเที่ยวบินหลายเส้นทางนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จากนั้นการบินไทยซึ่งเดิมเหมือนคนป่วยมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่แล้ว ก็ยกระดับเข้าขั้นผู้ป่วยวิกฤติ

25 กุมภาพันธ์ 2563

สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าการบินไทยปรับลดผลตอบแทนของฝ่ายบริหารลงตามลำดับชั้นในสัดส่วน 15-25 เปอร์เซ็นต์ มีผลไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น

2 มีนาคม 2563

การบินไทยเผยผลประกอบการปี 2562 มีรายได้รวม 184,046 ล้านบาท ตํ่ากว่าปี 2561 ประมาณ 7.7 เปอร์เซ็นต์ ขาดทุน 12,042 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 3.9 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2561 ที่ขาดทุน 11,625 ล้านบาท

5 มีนาคม 2563

ฝ่ายบริหารการบินไทยและผู้บริหารไทยสมายล์เข้าพบ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอแผนขอความช่วยเหลือ หลักๆ คือแผนเสริมสภาพคล่อง โดยขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาท แต่ รมว.คมนาคมปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า แผนยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ให้กลับไปจัดทำรายละเอียดมาเสนอใหม่

12 มีนาคม 2563

ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติการลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ของ สุเมธ ดำรงชัยธรรม มีผลในวันที่ 11 เมษายน 2563 พร้อมแต่งตั้ง จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะตัวแทนกระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่ รักษาการแทน

13 มีนาคม 2563

การบินไทยออกประกาศ ‘โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนด้วยความสมัครใจ’ ตั้งเป้าลดภาระค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์

24 มีนาคม 2563

การบินไทยประกาศหยุดบินต่างประเทศทุกเส้นทาง โดยหยุดเส้นทางบินในเอเชียช่วงวันที่ 25 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2563 เส้นทางบินยุโรปช่วงวันที่ 1 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2563 และต้องปิดสำนักงานทั้งหมดชั่วคราว

27 มีนาคม 2563

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันไม่ปล่อยให้การบินไทยล้มละลาย แต่การบินไทยต้องกล้าทำตามแนวทางที่จะช่วยให้กลับมาแข็งแรง อย่าปิดบังข้อมูล ต้องทำแผนการบริหารให้ชัดเจน ให้สถาบันการเงินตรวจสอบ

1 เมษายน 2563

การบินไทยออกประกาศเรื่องหยุดบินชั่วคราว และให้พนักงานหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในวันที่ 4 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2563 ซึ่งระหว่างนั้น ไม่มีการจ่ายเงินเดือนในอัตราปกติ แต่จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนตามอัตราขั้นบันได 50-90 เปอร์เซ็นต์

9 เมษายน 2563

กระทรวงคมนาคมยังไม่อนุมัติแผนที่การบินไทยนำมาเสนอ และสั่งให้กลับไปทำข้อมูลรายละเอียด โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ต้นทุนบริหารจัดการ และการปรับแผนธุรกิจมาเสนออีกครั้งในสัปดาห์ถัดไป

14 เมษายน 2563

ฝ่ายบริหารการบินไทยขอให้กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมอนุมัติการกู้เงิน 70,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปเกินเดือนตุลาคม 2563 จะต้องใช้เงินมากขึ้น

พ้นรัฐวิสาหกิจ

รัฐบาลหารือเรื่องการแก้ปัญหาและสถานะของการบินไทย สรุปเลือกแนวทาง ฟื้นฟูกิจการ ให้การบินไทยพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ ก่อนยื่นศาลขอฟื้นฟูกิจการ

16 เมษายน 2563

มีการประชุมหารือเรื่องแผนฟื้นฟูการบินไทย ระหว่าง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารการบินไทย ซึ่งที่ประชุมตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อหาแนวทางดูแลเร่งด่วน และกำหนดทิศทางการบินไทยใน 3-6 เดือนถัดจากนั้น

หลังการประชุม สมคิดกล่าวว่า การบินไทยต้องแสดงความสามารถว่ายังสามารถแข่งขันได้ เพื่อให้ยังคงเป็นสายการบินแห่งชาติต่อไป ส่วนเรื่องจะยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไปหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณา

29 เมษายน 2563

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 1/2563 เห็นด้วยในหลักการของแผนการแก้ไขปัญหาการบินไทยที่ว่า การบินไทยยังคงเป็นสายการบินแห่งชาติและเป็นรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูกิจการ

5 พฤษภาคม 2563

เดิมกระทรวงการคลังจะนำแผนการฟื้นฟูการบินไทยเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ปรากฏว่าแผนฟื้นฟูยังไม่เข้า ครม. ในวันนั้น

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการประชุมว่า ให้การบินไทยไปทำความเข้าใจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะให้การบินไทยได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การดำเนินงานดีขึ้น หลังจากให้โอกาสทำแผนฟื้นฟูตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สำเร็จ

7 พฤษภาคม 2563

กระทรวงการคลังจะให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้แก่การบินไทยในวงเงินราว 54,000 ล้านบาท ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี เพื่อให้การบินไทยใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยมีเงื่อนไขว่าการบินไทยต้องดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการตามที่ ครม. อนุมัติ และจะต้องลดจำนวนพนักงาน 30-40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดต้นทุน

8 พฤษภาคม 2563

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้านการแบ่งแยกหน่วยธุรกิจออกจากกัน และ/หรือ มีผลให้การบินไทยพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งขอให้ตัวแทนสหภาพฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการแปรรูปการบินไทย

15 พฤษภาคม 2563

การประชุมเพื่อหาข้อสรุปการแก้ไขปัญหาการบินไทย ณ กระทรวงคมนาคม ปรากฏว่าฝ่ายกระทรวงการคลังไม่เข้าประชุมตามนัด ฝ่ายกระทรวงคมนาคมจึงตัดสินใจยืนยันแนวทางเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

อนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ฝ่ายกระทรวงการคลัง ประสงค์ให้ ครม. อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้การบินไทย ต่างจากจุดยืนของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งปรับโครงสร้างการบินไทย ซึ่งจำเป็นต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการตามกระบวนการของศาลล้มละลายกลาง

วันเดียวกันนั้น อนุทิน นำรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานให้ทราบถึงแนวทางของกระทรวงคมนาคม ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเห็นในทางเห็นด้วย

18 พฤษภาคม 2563

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ยกเลิกมติเดิมที่ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทย เปลี่ยนเป็นแนวทางของกระทรวงคมนาคม คือจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง และนำแผนฟื้นฟูเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2563t

ในวันเดียวกัน การบินไทยขยายเวลาหยุดบินชั่วคราวออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

19 พฤษภาคม 2563

จากทางเลือกทั้งหมด 3 แนวทาง คือ 1. รัฐบาลให้เงินการบินไทยเพื่อดำเนินกิจการต่อไป 2. ปล่อยให้เข้าสู่ภาวะล้มละลาย 3. เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางที่ 3 ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้หลังจากกระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อให้การบินไทยพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ

20-21 พฤษภาคม 2563

การประชุมเพื่อหารือเรื่องการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และความพร้อมของการบินไทยหลังกระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น ในวันที่ 20 พฤษภาคม ยังคงไม่คืบหน้า

ก่อนหน้านั้น อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแจ้งต่อศักดิ์สยามว่า ให้กระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าของเรื่อง แต่หลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางฟื้นฟูกิจการ อุตตมยืนกรานว่ากระทรวงการคลังจะใช้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูทั้งหมด

เมื่อความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งสองฝ่ายจึงเข้าพบ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 21 พฤษภาคม เพื่อให้ชี้ขาดเรื่องกฎหมายและหน้าที่ความรับผิดชอบ

22 พฤษภาคม 2563

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เปิดเผยแนวทางการดำเนินการหลังจากหารือกับ วิษณุ เครืองาม ได้ข้อสรุปว่า จะตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด มีลักษณะเป็นซุปเปอร์บอร์ด โดยมี วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน และกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงการคลังเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าร่วมบอร์ด

23 พฤษภาคม 2563

สถาบันการเงินเจ้าหนี้ของการบินไทยแสดงความเห็น ให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ปรับคณะกรรมการบอร์ดการบินไทย ไม่ควรมีทหารอยู่ในบอร์ด และกรรมการคนหนึ่งใน คนร. แสดงความเห็นว่า บอร์ดการบินไทยไม่ควรบริหารแผนเอง เพราะดำเนินงานผิดพลาดมาแล้ว รัฐบาลต้องจ้างมืออาชีพจากต่างประเทศเข้ามาร่วมจัดทำแผนฟื้นฟูด้วย

25 พฤษภาคม 2563

การบินไทยแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 กระทรวงการคลังได้ปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นจาก 51.03 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 47.86 เปอร์เซ็นต์ โดยได้ขายหุ้น 3.17 เปอร์เซ็นต์ให้แก่ ‘กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง’ มีผลให้การบินไทยหลุดพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว

นอกจากนั้น การบินไทยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งพิเศษ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 มีมติแต่งตั้งกรรมการบริษัทใหม่ 4 คน ได้แก่ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, บุญทักษ์ หวังเจริญ, ไพรินทร์ ชูโชติถาวร และ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคมเป็นต้นไป

ในวันเดียวกันนั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้ง ‘ซุปเปอร์บอร์ดการบินไทย’ หรือ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ และมีคณะกรรมการอีก 8 คน

26 พฤษภาคม 2563

การบินไทยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง และในวันเดียวกัน ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท หลังจากได้รับแต่งตั้งเพียงวันเดียว

27 พฤษภาคม 2563

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการการบินไทย และนัดไต่สวนในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น.

2 มิถุนายน 2563

มีรายงานจากซุปเปอร์บอร์ดการบินไทยว่า บอร์ดการบินไทยแจ้งแก่พนักงานจำนวนกว่า 20,000 คน และพนักงานที่จ้างชั่วคราวอีกราว 15,000 คนว่า จะต้องลดจำนวนพนักงานลง 10,000 คน และไม่สามารถจ้างพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวได้อีกต่อไป

1 กรกฎาคม 2563

ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย (จำกัด) มหาชน อนุมัติการลาออกจากตำแหน่งรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล และแต่งตั้ง ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการบริษัทฯ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีกตำแหน่งหนึ่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป

17 กรกฎาคม 2563

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ เรื่อง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยสิ้นสภาพ ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2563

14 สิงหาคม 2563

การบินไทย เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2563 ขาดทุน 5,339 ล้านบาท และมีรายได้รวม 2,492 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2562 เป็นจำนวน 40,017 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายรวม 16,193 ล้านบาท ลดลง 67.4 เปอร์เซ็นต์ จากไตรมาสเดียวกันของปี 2562

17 สิงหาคม 2563

ศาลล้มละลายกลางไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการการบินไทยนัดแรก และนัดไต่สวนคำร้องเพิ่มเติมในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 และวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ ศาลพิจารณาไต่สวน 2 ประเด็น คือ ควรสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการหรือไม่ และควรแต่งตั้งคณะผู้ทำแผนฯ ตามที่การบินไทยเสนอหรือไม่

28 สิงหาคม 2563

ถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยผลตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการที่ทำให้การบินไทยขาดทุนเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2551 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงของการบินไทยมีส่วนในการทุจริต ทำให้การบินไทยขาดทุนนับหมื่นล้านบาท

ฟื้นฟูด้วยปาท่องโก๋

ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หลังจากนั้นการบินไทยพยายามดิ้นหารายได้-ลดรายจ่าย ให้พนักงานลาออก พร้อมกับจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ผลประกอบการปี 2563 ขาดทุนสุทธิ 141,180 ล้านบาท

14 กันยายน 2563

ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการการบินไทย โดยตั้งคณะผู้ทำแผนตามรายชื่อที่การบินไทยเสนอ และให้เจ้าหนี้ทั้งหมดยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันมีคำสั่ง

ปลายเดือนกันยายน 2563

มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวของการบินไทยถึงความพยายามหารายได้หลายทาง เช่น การเปิด Royal Orchid Dining Experience ภัตตาคารอร่อยล้นฟ้า ไม่ต้องบินก็ฟินได้ จำลองบรรยากาศการให้บริการบนเครื่องบินที่สาขาสำนักงานใหญ่และสาขาสีลม การขายปาท่องโก๋ จัดทัวร์บินชมน่านฟ้าไทย และกิจกรรม THAI Flying Experience & Beyond เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมเครื่องฝึกบินจำลอง

เดือนตุลาคม 2563

การบินไทยให้บริการเที่ยวบินพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่มีความจำเป็นต้องเดินทาง รวม 15 เที่ยวบินในเดือนตุลาคม 2563 เส้นทางกรุงเทพฯ-ลอนดอน 4 เที่ยวบิน, เส้นทาง กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเกน 4 เที่ยวบิน, เส้นทางกรุงเทพฯ-สตอกโฮล์ม 1 เที่ยวบิน, เส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง 2 เที่ยวบิน, เส้นทาง กรุงเทพฯ-ไทเป 4 เที่ยวบิน

16 ตุลาคม 2563

การบินไทยจัดโครงการให้พนักงานลาออก แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกมีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 และระยะที่สองมีผลในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564

5 พฤศจิกายน 2563

การบินไทยประกาศขายเครื่องบินใช้แล้วจำนวน 34 ลำ

10 พฤศจิกายน 2563

การบินไทยเปิดเผยแผนการหารายได้ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่า ในเดือนกันยายน การบินไทยมีรายได้ขยับขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาทจากธุรกิจคาร์โก้ และมีความพยายามสร้างรายได้จากด้านอื่นๆ เช่น จะนำอาคารต่างๆ เปิดเป็นสำนักงานให้เช่า และนำสินค้าในคลังออกมาขาย

11 พฤศจิกายน 2563

การบินไทย (THAI) แจ้งงบการเงินไตรมาส 3 ปี 2563 ขาดทุนสุทธิ 21,536.07 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า 16,851 ล้านบาท หรือราว 360.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 21,536 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 9.87 บาท

25 ธันวาคม 2563

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการและรักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เปิดเผยว่า ยังไม่สามารถยื่นแผนฟื้นฟูกิจการได้ทันตามกำหนด วันที่ 2 มกราคม 2564 จึงจะยื่นต่อศาลขอขยายระยะเวลายื่นแผนฟื้นฟูออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2564

5 มกราคม 2564

ศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้การบินไทยขยายเวลาส่งแผนฟื้นฟูเป็นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564

4 กุมภาพันธ์ 2564

การบินไทยยังไม่ส่งแผนฟื้นฟูกิจการตามกำหนด และขอเลื่อนส่งแผนอีกครั้งเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2564

18 กุมภาพันธ์ 2564

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เปิดเผยว่า การบินไทยได้จัดโครงสร้างองค์กรบางส่วนเป็นแบบรวมศูนย์ ส่งผลให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและมีขนาดเล็กลง ลดจำนวนผู้บริหารจาก 740 อัตราเหลือประมาณ 500 อัตรา และลดขั้นตอนการบังคับบัญชาจากเดิม 8 ระดับ เหลือ 5 ระดับ

19 กุมภาพันธ์ 2564

การบินไทยตั้ง บุญทักษ์ หวังเจริญ เป็นหัวหน้าคณะการเจรจากับเจ้าหนี้ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ

22 กุมภาพันธ์ 2564

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือถึงความคืบหน้าของแผนฟื้นฟูการบินไทย

25 กุมภาพันธ์ 2564

การบินไทย เปิดเผยผลประกอบการปี 2563 ว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยมีรายได้รวม 48,311 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 96,430 ล้านบาท มีผลขาดทุนสุทธิ 141,180 ล้านบาท

2 มีนาคม 2564

การบินไทยยื่นแผนฟื้นฟูกิจการตามเส้นตายที่กำหนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เปิดเผยว่า การบินไทยจะไม่แฮร์คัทหนี้ แต่จะผ่อนจ่ายเงินต้นโดยขอยกเว้นการชำระหนี้ใน 3 ปีแรก ส่วนกรณีมูลหนี้ที่เสนอศาลฯ อยู่ที่ 410,000 ล้านบาท แต่การบินไทยแจ้งยอมรับหนี้ที่มีอยู่จริง 160,000-170,000 ล้านบาทนั้น เนื่องจากเจ้าหนี้มีการประเมินหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 2-3 ปี ส่วนการบินไทยมองว่าเป็นหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้น

3 มีนาคม 2564

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังพร้อมใช้สิทธิ์เพิ่มทุนให้การบินไทย

ขอกลับเป็นรัฐวิสาหกิจ

การบินไทยขอกลับเป็นรัฐวิสาหิจ กระทรวงการคลังอ้าแขนรับ กระทรวงคมนาคมค้าน และเสนอตั้งสายการบินแห่งชาติรายใหม่

21 เมษายน 2564

ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยขอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบนำการบินไทยกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ และขอให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุน หรือขอกู้ในวงเงิน 50,000 ล้านบาทได้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากเกรงว่าแผนฟื้นฟูจะไม่ผ่านความเห็นชอบและจะมีผลให้ล้มละลาย

23 เมษายน 2564

มีการประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบินไทย หลังการประชุม อนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ที่ประชุมยังไม่ได้เลือกวิธีแก้ไขปัญหาการบินไทย ส่วนเรื่องการนำการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น ยังไม่ได้หารือกัน จะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี

28 เมษายน 2564

มีการประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบินไทย กระทรวงการคลังนำเสนอแนวทางจะให้นำการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง ฝั่งกระทรวงคมนาคมไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้รัฐต้องรับภาระรายจ่ายเพิ่มขึ้นอีกมาก

5 พฤษภาคม 2564

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหารือเรื่องการฟื้นฟูการบินไทย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอให้ดึงการบินไทยกลับเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยให้เหตุผลว่า การเป็นรัฐวิสาหกิจจะช่วยให้การบินไทยสามารถฟื้นฟูกิจการได้ตามแผน และช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับเจ้าหนี้ แต่ที่ประชุมให้กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมแล้วเสนออีกครั้ง

11 พฤษภาคม 2564

มีรายงานข่าวว่า กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณานำการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ และเพิ่มทุนอีก 50,000 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในวาระการประชุม ครม.

ทั้งนี้ การที่กระทรวงการคลังไม่สามารถสรุปข้อเสนอเรื่องการอัดฉีดเงินให้การบินไทยและการทำให้การบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าหนี้อย่างชัดเจน

12 พฤษภาคม 2564

ถึงกำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติว่าจะรับแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยหรือไม่ แต่ที่ประชุมให้เลื่อนการโหวตออกไปเป็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เนื่องจากเจ้าหนี้หลายรายมีความเห็นว่าแผนฟื้นฟูการบินไทยยังไม่มีความชัดเจน และมีหลายๆ ประเด็นที่ลูกหนี้ไม่พอใจ

14 พฤษภาคม 2564

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกรณีกระแสข่าวการบินไทย โดยยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่สนับสนุนเงินให้การบินไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาแผน ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

เจ้าหนี้ให้ผ่าน ไม่ล้มละลาย

เจ้าหนี้มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ การบินไทยไม่ล้มละลาย เดินหน้าส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้ศาลพิจารณา

19 พฤษภาคม 2564

วันกำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติว่า จะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยหรือไม่ ซึ่งมีแผนแก้ไขรวม 15 ฉบับ ปรากฏว่า เจ้าหนี้โหวตยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ 3 ฉบับ ส่งผลให้การบินไทยเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้เสนอแต่งตั้งผู้บริหารแผน 5 คน ประกอบด้วย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, พรชัย ฐีระเวช, ศิริ จิระพงษ์พันธ์, ไกรสร บารมีอวยชัย และชาญศิลป์ ตรีนุชกร

28 พฤษภาคม 2564

ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย มีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการและศาลรับไว้จำนวน 2 ฉบับ ศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรให้งดสืบพยานและให้โอกาสผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด และนัดฟังคำสั่งศาลเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 15 มิถุนายน 2564

15 มิถุนายน 2564

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 มีผลให้ผู้บริหารแผนที่ถูกเสนอชื่อตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไข ได้แก่ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, พรชัย ฐีระเวช, ศิริ จิระพงษ์พันธ์, ไกรสร บารมีอวยชัย และชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหารแผน ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารธุรกิจของบริษัทฯ และดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป

16 มิถุนายน 2564

การบินไทยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่าตามที่ที่ประชุมคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 มีมติอนุมัติการลาออกของ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร จากตำแหน่งรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทและผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูมีมติแต่งตั้ง สุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคลดำรงแหน่งแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีกตำแหน่งหนึ่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน - 30 กันยายน 2564

3 กรกฎาคม 2564

การบินไทยจัดพิธีต้อนรับผู้โดยสารจากเที่ยวบินแรกที่เดินทางมาถึงจังหวัดภูเก็ต เที่ยวบินที่ TG 923 เส้นทางแฟรงก์เฟิร์ต - ภูเก็ต ซึ่งการบินไทยสนับสนุนนโยบายกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้โมเดล ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ โดยให้บริการ 5 เที่ยวบินจากยุโรปบินตรงสู่ภูเก็ตในเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 ได้แก่ โคเปนเฮเกน แฟรงก์เฟิร์ต ปารีส ลอนดอน และซูริก เส้นทางละ 1 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

8 กรกฎาคม 2564

ที่ประชุมคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยมีมติอนุมัติให้บริษัทลดทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียนเดิม 26,986,009,500 บาท เป็นทุนจดทะเบียน 21,827,719,170 บาท โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกและจำหน่าย 516,129,033 หุ้น

13 กรกฎาคม 2564

นนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยเปิดให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศร่วมกับการขนส่งผู้โดยสาร 22 เส้นทาง สู่ทวีปเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย เพื่อให้สอดคล้องกับตารางการบินในเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 และเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างเดือนเมษายน 2563 - มิถุนายน 2564 คาร์โก้การบินไทยให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศจำนวนกว่า 3,500 เที่ยวบิน

1 สิงหาคม 2564

การบินไทยปรับลดเที่ยวบินจากยุโรปสู่ภูเก็ต โดยยกเลิกเส้นทางโคเปนเฮเกน - ภูเก็ต เหลือ 4 เส้นทาง คือ แฟรงก์เฟิร์ต - ภูเก็ต, ลอนดอน - ภูเก็ต, ปารีส - ภูเก็ต และซูริก - ภูเก็ต

3 สิงหาคม 2564

การบินไทยประกาศขายอสังหาริมทรัพย์จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินเปล่า ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุดรธานี และพิษณุโลก

16 สิงหาคม 2564

การบินไทยเผยแพร่หนังสือนำส่งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่แจ้งว่าในงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 การบินไทยและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 10,220 ล้านบาท ขาดทุนจากการดำเนินงาน 14,335 ล้านบาท แต่มีรายได้ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 25,899 ล้านบาท เป็นผลมาจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้การบินไทยและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิใน 6 เดือนแรกของปี 2564 จำนวน 11,121 ล้านบาท

Share article
  • Line
  • link
Follow