นักสิ่งแวดล้อม 177 คน ถูกสังหารทั่วโลกในปี 2022 โคลอมเบียอันดับ 1 ฟิลิปปินส์อันดับ 5
...
LATEST
Summary
- ตามรายงานของ Global Witness เผยว่า มีนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม 177 คนถูกฆาตกรรมทั่วโลกเมื่อปี 2022 โดยมีโคลอมเบีย เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือบราซิล เม็กซิโก ฮอนดูรัส และ ฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
- Global Witness กล่าวว่า ไม่ทราบจำนวนผู้ถูกฆาตกรรมในทุกภาคส่วน เนื่องจากขาดการตรวจสอบอย่างอิสระและมีข้อจำกัดของสื่อเสรีในหลายประเทศ ส่งผลให้มีการรายงานคดีที่น้อยเกินไป
- Global Witness เรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกจัดการปัญหานี้อย่างเร่งด่วน โดยเสริมว่ากลุ่มนักเคลื่อนไหวยังถูกการใช้วิธีการทางกฎหมายมากขึ้นเพื่อปิดปากพวกเขา
...
ตามรายงานของ Global Witness องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เผยว่า มีนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 177 คนถูกฆาตกรรมทั่วโลกเมื่อปี 2022 ทำให้จำนวนทั้งหมดที่ Global Witness บันทึกตั้งแต่ปี 2012 เป็น 1,910 ราย โดยมีโคลอมเบีย เป็นประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับนักปกป้องสิ่งแวดล้อม ด้วยยอดผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้น 60 คน โดยจำนวนการกระทำรุนแรงต่อนักปกป้องสิ่งแวดล้อมในโคลอมเบียเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปี 2022
Global Witness รายงานว่า มีผู้กระทำความผิดในการฆาตกรรมมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ด้านกลุ่มที่ออกมากดดันเรื่องนี้ แย้งว่า ผู้กระทำผิดที่ไม่ต้องรับโทษกำลังกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในประเทศโคลอมเบียนับตั้งแต่เริ่มบันทึกข้อมูลการทำร้ายนักสิ่งแวดล้อมในปี 2012 มีจำนวนอย่างน้อย 382 คน
ในขณะเดียวกัน ประเทศในละตินอเมริกา เช่น บราซิลมีบันทึกการฆาตกรรมผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม 34 ราย เม็กซิโก 31 ราย และฮอนดูรัส 11 ราย ส่วนภูมิภาคแอมะซอนมีผู้เสียชีวิต 39 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นคนจากชุมชนพื้นถิ่น
ตามรายงาน ผู้ถูกกระทำเหล่านี้เผชิญกับภัยคุกคามมากมาย เช่น การขุดทองและการตัดไม้ และมีการกล่าวหาว่า บริษัทหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีความเชื่อมโยงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“การวิจัยแสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้พิทักษ์ป่าได้ดีที่สุด และมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเขาก็ยังถูกทำร้ายในประเทศต่างๆ เช่น บราซิล เปรู และเวเนซุเอลา เราได้ยินข่าวแบบนี้ทุกวัน” ลอร่า ฟูโรเนส (Laura Furones) ที่ปรึกษาอาวุโสของ Global Witness กล่าว
Global Witness กล่าวว่า ไม่ทราบจำนวนผู้ถูกฆาตกรรมในทุกภาคส่วน เนื่องจากขาดการตรวจสอบอย่างอิสระและมีข้อจำกัดของสื่อเสรีในหลายประเทศ ส่งผลให้มีการรายงานคดีที่น้อยเกินไป
นอกเหนือจากละตินอเมริกาแล้ว ยังมีนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม 11 คนถูกสังหารในฟิลิปปินส์อีกด้วย ทำให้ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 5 จากทั่วโลก รองจากโคลอมเบีย บราซิล เม็กซิโก และฮอนดูรัส ตามลำดับ ตามรายงานการฆาตกรรมนักปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 281 รายในฟิลิปปินส์นับตั้งแต่ปี 2012 โดยสถานการณ์ในฟิลิปปินส์มีความโดดเด่นเนื่องจากยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะเปลี่ยนจากรัฐบาลจาก โรดริโก ดูเตอร์เต ซึ่งมีการนักกิจกรรมถูกคุกคามต่อเนื่อง มาสู่ยุคของ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ แต่ดูเหมือนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในฟิลิปปินส์จะยังไม่ดีขึ้น
“การเอาผิดทางกฎหมายแก่นักปกป้องและผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชนแพร่หลาย โดยมี ‘การติดแท็กสีแดง’ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลในการกล่าวหานักเคลื่อนไหวว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมักใช้เพื่อปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์และชุมชน” จากคำแถลงของ Global Witness
“ในขณะที่ร่างกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและลงโทษการกระทำที่เป็นการข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงต่อพวกเขา เพิ่งได้รับการอนุมัติในระดับคณะกรรมการของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นการเดินหน้าเชิงบวกสำหรับการคุ้มครองนักปกป้อง อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงของรัฐบาลระบุว่าร่างกฎหมายดังกล่าว ‘เป็นอันตรายและทำลายล้าง’ สำหรับประเทศ” คำแถลงระบุเสริม
รายชื่อนักปกป้องสิ่งแวดล้อมของ Global Witness ที่ถูกฆาตกรรมในฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงเหตุการณ์ New Bataan 5 ที่ถูกฆาตกรรมหมู่ในดาเวา เดอ โอโร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022
ครอบครัวของเหยื่อและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ปฏิเสธว่าพวกเขาเป็นกบฏคอมมิวนิสต์
รายชื่อนี้ยังรวมถึงนักกวี-นักกิจกรรม เช่น เอริคสัน อคอสตา, ริชาร์ด เมนโดซา, โจเซฟ ฆิเมเนซ, ซิลเวสเตร ฟอร์ตาเดส จูเนียร์., โรเซ มารี กาญาส และ ยูจีน ลาสเตรญา
Global Witness เรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกจัดการปัญหานี้อย่างเร่งด่วน โดยเสริมว่ากลุ่มนักเคลื่อนไหวยังถูกการใช้วิธีการทางกฎหมายมากขึ้นเพื่อปิดปากพวกเขา
“รัฐบาลทั่วโลกต้องจัดการอย่างเร่งด่วนต่อการสังหารผู้ที่ยืนหยัดเพื่อโลกของเราอย่างไร้เหตุผล รวมถึงการปกป้องระบบนิเวศที่มีค่ามากที่สุด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ การดำเนินการอย่างมีเอกภาพเป็นสิ่งสำคัญในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อยุติความรุนแรงและความอยุติธรรมที่พวกเขาเผชิญ มีหลายชีวิตที่สูญเสียไปมากเกินไปแล้ว เราไม่สามารถรับสูญเสียได้อีกต่อไป” ชรูติ สุเรช (Shruti Suresh) ผู้อำนวยการร่วมฝ่ายรณรงค์ของ Global Witness กล่าว
ลอร่า ฟูโรเนส (Laura Furones) ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลป่าไม้ที่ให้คำแนะนำในรายงานฉบับนี้ เน้นย้ำว่า การทำร้ายชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองเป็นสาเหตุที่น่ากังวล
“การวิจัยแสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าชนเผ่าพื้นเมืองเป็นผู้พิทักษ์ป่าที่ดีที่สุด และด้วยเหตุนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเขาก็ยังตกอยู่ภายใต้วงล้อมในประเทศอย่างบราซิล เปรู และเวเนซุเอลา ที่กระทำการแบบนั้นถ้าเราจะรักษาป่าให้คงอยู่ได้ เราต้องตระหนักว่าสิ่งนี้ต้องอาศัยการคุ้มครองของผู้ที่เรียกป่าว่าบ้าน”
อ้างอิง: philstar.com , theguardian.com , bbc.com
