V2G สร้างรายได้จากยานยนต์ไฟฟ้าให้รถเป็นโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว ในฐานะ ‘แบตเตอรี่มีล้อ’
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายประเทศรวมถึงไทย ลังเลที่จะเปลี่ยนผ่านการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน คือความไม่เสถียรของระบบผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ เนื่องจากกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ผันผวนแบบนาทีต่อนาที ต่างจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติที่สามารถกดปุ่มเปิดปิดตามความต้องการ
- ความนิยมของยานยนต์ไฟฟ้าอาจเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เพราะคนจำนวนมากยอมควักกระเป๋าซื้อ ‘แบตเตอรี่ที่มีล้อ’ เท่ากับว่าถ้าประเทศไหนมีโครงข่ายไฟฟ้าหรือกริดที่ฉลาดเพียงพอ ก็จะสามารถรับซื้อไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าที่เสียบชาร์จอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่พุ่งสูงในบางช่วงเวลา แนวคิดเช่นนี้เรียกว่าการจ่ายไฟฟ้าจากยานยนต์สู่กริด (vehicle-to-grid)
- ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเกิด V2G คือระบบหักลบกลบหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตามจริง (Net Metering) เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ อย่างไรก็ตาม จวบจนปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวก็ยังไม่คืบหน้าไปไหนพร้อมกับข้ออ้างหยุมหยิมอย่างเช่น ปัญหาการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือระบบกริดไฟฟ้าไทยที่ยังไม่ ‘ยืดหยุ่น’ เพียงพอ
...
Author
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย Climate Finance Network Thailand บัณฑิตด้านการเงินและการบัญชีที่เคยผ่านงานทั้งมูลนิธิ สตาร์ตอัพ ไปจนถึงธนาคารข้ามชาติ ที่ชอบใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน เขียน เรียนคอร์สออนไลน์ ทำอาหาร และวิ่งตามลูกชายวัยกำลังซน