Humberger Menu

26 กุมภาพันธ์ 12 ปี พิพากษายึดทรัพย์ทักษิณ 46,000 ล้านบาท

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Politics & Society

Politics

26 ก.พ. 65

creator
กองบรรณาธิการ
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • 26 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษายึดทรัพย์สิน จำนวน 46,373 ล้านบาท ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดิน
  • การยึดทรัพย์มีที่มาจากกรณีซุกหุ้นและใช้นอมินีถือหุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น มาเป็นคู่สัญญาของรัฐ เอื้อผลประโยชน์ให้ตนเอง
  • เมื่อเดือนมกราคม ทักษิณ ชินวัตร ‘โทนี่ วู้ดซัม’ ประกาศใน CARE Talk x CARE ClubHouse ว่าจะกลับเมืองไทยในปี 2565 เพื่อมาทำงานรับใช้ประชาชน

...

หนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 คือการตัดสินยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยึดทรัพย์สิน จำนวน 46,373 ล้านบาท ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดิน

องค์คณะผู้พิพากษา 9 คน มีคำพิพากษาด้วยมติเสียงข้างมาก ให้ยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผล ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้ยึดเฉพาะเงินค่าขายหุ้น (ซุกหุ้น) ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนที่เพิ่มขึ้น หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเงินปันผล เป็นเงิน 46,373 ล้านบาท จากจำนวน 76,261.6 ล้านบาท และคืนส่วนที่เหลือ 30,247 ล้านบาท เพราะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เงินที่มีอยู่แต่เดิม

คำพิพากษาครั้งนั้นมีที่มาจากการใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีโดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจครอบครัว รวม 5 กรณี คือ 

1. ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอไอเอส หลังแปลงสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ทำให้รัฐเสียหายกว่า 60,000 ล้านบาท 

2. ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอไอเอส หลังปรับลดส่วนแบ่งค่าสัมปทานโทรศัพท์ระบบเติมเงิน 

3. ได้รับประโยชน์จากการแก้สัญญาให้รัฐร่วมรับผิดชอบค่าใช้เครือข่ายร่วมกับเอไอเอส ทำให้ องค์การโทรศัพท์ (ทศท.) และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้รับความเสียหาย 

4. การสนับสนุนธุรกิจดาวเทียมไอพีสตาร์ เอื้อประโยชน์บริษัท ชินคอร์ปฯ และไทยคม  

5. สั่งให้เอ็กซิมแบงก์อนุมัติเงินกู้ให้พม่า 4,000 ล้านบาท เอื้อประโยชน์บริษัทไทยคม และชินคอร์ปฯ

ต่อมา วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีให้นอมินีถือหุ้นชินคอร์ปฯ บริษัท ซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองและผู้อื่น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต

ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา จากสองฐานความผิด คือ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ จำคุก 2 ปี และเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการเข้ามีส่วนได้เสียเฝเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น จำคุก 3 ปี

เมื่อเดือนมกราคม ทักษิณ ชินวัตร ‘โทนี่ วู้ดซัม’ ประกาศใน CARE Talk x CARE ClubHouse ว่าจะกลับเมืองไทยในปี 2565 เพื่อมาทำงานรับใช้ประชาชน หลังขออนุญาตศาลฎีกาฯ เดินทางออกนอกประเทศ โดยให้เหตุผลเดินทางไปปฏิบัติภารกิจประเทศจีนและญี่ปุ่น ในปี 2551 และไม่ได้กลับไทยจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ทักษิณมีคดีทุจริตติดตัวอยู่หลายคดี ทั้งที่ตัดสินแล้ว ยกฟ้อง และอยู่ในการไต่สวนของ ป.ป.ช. จากทุกคดีรวมกันมีโทษจำคุกทั้งหมด 12 ปี



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

Spotlight: ทักษิณลงชายแดนใต้–ขอโทษความผิดในอดีต, จับตา กคพ. ประชุมรับเรื่องโพยฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษ, ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ทักษิณได้ประกันตัวคดี 112 หากนักกิจกรรมไม่ได้ประกัน อาจเกิดคำวิจารณ์เรื่อง ‘สองมาตรฐาน’

ทักษิณบนชั้น 14 ยังสบายดีไหม? เมื่อ กมธ.ตำรวจ ไป ‘ศึกษาดูงาน’ มาตรฐานดูแลนักโทษ ท่ี รพ.ตำรวจ

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat