Humberger Menu

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ‘ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ’ พรรคเล็กจะรอดในสูตรหาร 100 อย่างไร

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Politics & Society

Thai Politics

Politics

30 พ.ย. 65

creator
กองบรรณาธิการ
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และตรากฎหมายขึ้นโดยถูกต้อง
  • ทางรอดของพรรคเล็กเมื่อผลสรุปออกมาแล้วว่าสนามเลือกตั้งครั้งหน้าใช้การสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อหาร 100 และไม่มี ส.ส.พึงมีอีกต่อไป

...

จากกรณีที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. รวม 105 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา 25 และมาตรา 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 หรือไม่ และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 หรือไม่ 

ทั้งนี้วันที่ 30 พฤศจิกายน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 และ มาตรา 25 ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 และมีมติโดยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 วินิจฉัยว่า พ.ร.ป.เลือกตั้งมาตรา 26 ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 

ทั้งนี้สาระสำคัญ มาตรา 25 และมาตรา 26 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ยกเลิกการคำนวณ ส.ส. พึงมี และ ส.ส. บัญชีรายชื่อพึงได้รับ 

ซึ่งในตอนนี้ พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้กฎในการเลือกตั้งปี 2566 นั้น ชัดเจนมากขึ้นคือ ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน รวม ส.ส. 500 คน แล้วสูตรในการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะนำบัตรดีทั้งประเทศมาหารด้วย 100 และไม่มีส.ส.พึงมีอีกต่อไป


ทางรอดพรรคเล็กในการเลือกตั้งปี 2566

ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่แนวทางการเลือกตั้งของแต่ละพรรคจะต้องมีความชัดเจน เพราะกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ ได้ผ่านการวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และอีกข้อสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งปี 2566 ไม่ใช่เพียงสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของบัตรเลือกตั้ง ที่จะมีผลอย่างมากต่อคะแนนเสียง 

เริ่มตั้งแต่บัตรเลือกตั้งที่เปลี่ยนใหม่ ไม่ใช่บัตรใบเดียว ทำให้พรรคเล็กในปี 2562 มีโอกาสมากกว่าเดิม เพราะบัตรใบเดียวนั้น คนคนหนึ่งตัดสินใจเลือกยาก เช่น ไม่ชอบผู้สมัคร ส.ส.เขตนี้ แต่ชอบตัวพรรค และชอบแคนดิเดตนายกฯ รวมเป็ย 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งใบเดียว

แต่พอเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ‘เลือกคนที่รัก พรรคที่ชอบ’ จะมีความชัดเจนมากขึ้น ว่า ส.ส.เขต ความนิยมของพรรค และตัวแคนดิเดตนายกฯ แยกจากกัน ในการกาบัตรเลือกครั้งนี้ ต่อให้พรรคที่ส่ง ส.ส.เขต น้อย แต่หากสามารถสร้างคะแนนนิยมให้กับพรรคตัวเองได้เยอะ ก็สามารถเข้ามานั่งในสภาด้วยการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้ 

ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป เพราะในอดีตก็เคยมีพรรคที่ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพียง 10 คน แต่สามารถมีที่นั่งในสภามากกว่าพรรคเล็กในปัจจุบันเสียอีก นั่นคือสมัยการเลือกตั้งปี 2554 ที่ ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ นั่งหัวหน้าพรรครักประเทศไทย ส่งสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพียง 10 คน ซึ่งไม่ได้ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบเขตเลย 

ชูวิทย์กล่าวถึงการเลือกตั้งครั้งนั้นว่า ต้องการให้คนไทยทั้งประเทศเลือกพรรค เพื่อเข้าไปเป็นฝ่ายค้านตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาล สุดท้ายผลการเลือกตั้งพรรครักประเทศไทยได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ มา 4 คน

หากคิดคำนวณต้องการที่นั่งเพียง 4 ที่ในสภา เริ่มจากคะแนนบัตรดีทั้งประเทศจากบัตรใบที่เลือกพรรค รวมแล้วสมมติ 40 ล้านคะแนน นำเอาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่จะนั่งอยู่ในสภาได้คือ 100 มาหาร จะได้ 400,000 คะแนน เท่ากับ 1 เก้าอี้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ฉะนั้นหากต้องการได้ทั้งหมด 4 เก้าอี้ แบบสมัยชูวิทย์ต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 1.6 ล้านเสียง

จะเห็นได้ว่า เมื่อเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ไม่ว่าสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อจะเป็นอย่างไร ก็ยังสามารถหาช่องทางรอดได้ แค่ทุ่มสุดตัวให้ถูกทาง ดังนั้น พรรคเล็กจะไม่สูญพันธุ์ในการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ หรือสูตรคำนวณส.ส. 100 แต่สิ่งที่จะทำให้พรรคเล็กสูญพันธุ์ คือ การไร้เสียงของประชาชน 



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

Spotlight: ผลเลือกตั้ง อบจ. อำนาจ สว. เลือกองค์กรอิสระ และคำถามถึงการแจกเงิน 10,000 บาท

เศรษฐาหลุดนายกฯ ครม. พ้นทั้งชุด หานายกฯ คนใหม่จากแคนดิเดตเดิม

สงครามการเมืองของ ‘พรรคประชาชน’ สู้ด้วยวิธีเดิมๆ จะเห็นทางชนะจริงหรือ

อภินิหารทางกฎหมายแบบไหน จะทำให้เศรษฐารอด ไม่หลุดตำแหน่งนายกฯ

11 กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat