Humberger Menu

ย้อน 4 มาตรการนายกฯ แก้ปัญหาอาวุธปืน หลังสันติบาลรัวกระสุนย่านสายไหม

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Politics & Society

Human's Life

Social Issues

14 มี.ค. 66

creator
ณัฏฐ์นรี เฮงสาโรชัย
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • เกิดเหตุการณ์ตำรวจชายยิงปืนขึ้นฟ้าและรัวกระสุนในเขตสายไหม บริเวณบ้านมั่นคง 2 ซอยจีระมะกร เขตสายไหม และทางตำรวจ สน.สายไหม พร้อมหน่วยปฏิบัติการพิเศษสันติบาล เข้าตรวจสอบและปิดล้อมพื้นที่
  • ภายหลังพบว่าตำรวจคนดังกล่าว คือ พันตำรวจโทกิตติกานต์ แสงบุญ อายุ 51 ปี เป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตร กองบัญชาการตำรวจสันติบาล และทางเพื่อนบ้านผู้ก่อเหตุให้ข้อมูลว่า ตำรวจคนนี้มีอาการทางจิต และเครียดปัญหาชีวิต
  • พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยออก ‘มาตรการเร่งด่วน’ แนวทางแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดทั้งหมด 4 ข้อ คือ 1. มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน 2. มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3. มาตรการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 4. การพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

...


จากเกิดเหตุการณ์ตำรวจชายยิงปืนขึ้นฟ้าและรัวกระสุน บริเวณบ้านมั่นคง 2 ซอยจีระมะกร เขตสายไหม และทางตำรวจ สน.สายไหม พร้อมหน่วยปฏิบัติการพิเศษสันติบาล เข้าตรวจสอบและปิดล้อมพื้นที่

ภายหลังพบว่าตำรวจคนดังกล่าว คือ พันตำรวจโทกิตติกานต์ แสงบุญ อายุ 51 ปี เป็นตำรวจตำแหน่งสารวัตร กองบัญชาการตำรวจสันติบาล และทางเพื่อนบ้านผู้ก่อเหตุให้ข้อมูลว่า ตำรวจคนนี้มีอาการทางจิต และเครียดปัญหาชีวิต 



ต่อมาเมื่อช่วงเวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่เข้าเจรจาโดยมีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัดและยังควบคุมตัวผู้ก่อเหตุไม่ได้

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สังคมเกิดคำถามว่าทำไมถึงยังคงเกิดเหตุที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นซ้ำแล้วซ้ำอีก 

ทั้งยังสะท้อนไปถึงเหตุการณ์ เมื่อปลายปี 2565 ในเหตุการณ์ ‘กราดยิงหนองบัวลำภู’ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้มีเด็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นี้เกิดจากผู้ก่อเหตุถูกขับออกจากข้าราชการ ‘ตำรวจ’ เนื่องจากปัญหายาเสพติด 

โดยภายหลังเกิดเหตุ ภาครัฐได้มีการเยียวยา และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมเพื่อออก ‘มาตรการเร่งด่วน’ วันที่ 12 ตุลาคม หลังเหตุเกิดไปแล้ว 6 วัน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่


1. มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน  

  • กวดขันการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน และกระสุนปืนอย่างเข้มงวดในการออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาตและการพกพา
  • ผู้ยื่นคำขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตรงตามกฎหมาย มีการตรวจสอบและรับรองทางจิตว่าไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน
  • สำหรับในส่วนความประพฤติหรือพฤติกรรมต้องได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชา ชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ว่าไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคม และมีมาตรการตรวจสอบทบทวนเพื่อพิจารณาคุณสมบัติในทุกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม
  • เพิกถอนใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน เมื่อพบปัญหาทางจิต พฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม การใช้ยาเสพติด และมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม
  • กวาดล้างจับกุมอาวุธเถื่อนและการซื้อขายออนไลน์อย่างจริงจัง
  • ทบทวนกฎหมายที่จำเป็นให้มีความทันสมัย


2. มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 

  • ควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารเคมีที่นำไปใช้ผลิตยาเสพติด “โซเดียมไซยาไนด์”    
  • เร่งติดตาม สืบสวนขยายผล ทำลายเครือข่ายนักค้ายาเสพติดและยึดอายัดทรัพย์สิน    
  • บูรณาการนำผู้เสพเข้าระบบศูนย์ข้อมูลที่ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
  • ทบทวนกรณีผู้เสพเป็นผู้ป่วย โดยเฉพาะประเด็นปริมาณการครอบครอง เพื่อนำไปสู่การบำบัดฟื้นฟู
  • สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด


3. มาตรการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

  •  ค้นหา คัดกรองผู้ป่วย SMIV เข้าสู่สถานฟื้นฟูฯ ภาคีเครือข่าย     
  • เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์คัดกรองให้ครอบคลุมทุกตำบล ทั้ง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสถานบำบัดรักษาที่มีมาตรฐานสากล
  • บูรณาการการบำบัดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment) ให้ครอบคลุมทุกตำบล 
  • พัฒนาพฤตินิสัย ร่วมกับการบำบัดฟื้นฟู โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อความรุนแรง หรือเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง และใช้กำไล EM เพื่อการติดตามดูแล


4. การพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

  • จัดตั้งระบบดูแลสุขภาพจิตใน โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง / สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาวุธร้ายแรง
  • ทำการบำบัดฟื้นฟูทันที โดยจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ จัดตั้งหน่วยบูรณาการ จิตเวชฉุกเฉินทุกอำเภอ ระบบดูแลเบื้องต้นทางจิตเวชทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • ใช้ชุมชนบำบัด เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาจิตเวชทางไกล การดูแลต่อเนื่องในชุมชนในผู้ป่วยจิตเวชเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง


อ้างอิง : thaigov.go.th , thairath.co.th



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

เรื่องไม่โจ๊กของ ‘บิ๊กโจ๊ก’ ผิดจริงหรือถูกเตะตัดขา ไม่ให้ขึ้น ผบ.ตร.

บิ๊กโจ๊กเร่งเครื่องจนหลุดโค้ง แต่บิ๊กต่อ บิ๊กกว่า แค่เดินก็เข้าเส้นชัย เป็น ผบ.ตร. แบบไม่พลิกโผ

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร: ปัญหาส่วย ตำรวจ และมาเฟีย ไม่ใช่แค่ปราบปราม แต่ต้องตัดเหตุผลในการทำเลว

ตำรวจเลื่อนยศเร็ว ช่องโหว่ของระบบ และความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง

ซีเซียม-137 ยังไม่จบ ชาวปราจีนบุรียังแคลงใจ ใครต้องรับผิดชอบ

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat