Humberger Menu

เด็กไทยเกิดน้อย แต่จมน้ำตายมาก เราจะปกป้องอนาคตของชาติอย่างไร

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Politics & Society

Thai Politics

Politics

1 เม.ย. 67

creator
กองบรรณาธิการ
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • เข้าสู่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดการเสียชีวิตของเด็กจากการจมน้ำพุ่งสูงขึ้นในทุกปี เฉลี่ยแล้วมีการจมน้ำเสียชีวิตวันละ 2 คนเป็นอย่างต่ำในช่วงปิดเทอม
  • อันตราการเกิดของประเทศไทยที่ต่ำลงทุกปี จนเป็นปัญหาระดับชาติ ขณะเดียวกันยอดการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กค่อยๆ สูงขึ้นทุกปีเช่นกัน และในรัฐบาลใหม่มีการผลักดันอะไรบ้าง เพื่อให้เด็กไทยทุกคนสามารถเข้าถึงทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

...


ปัจจุบันภาครัฐตระหนักถึงอันตราการเกิดลดลงที่จะส่งผลต่อสังคม และแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตอย่างมาก เนื่องจากประชากรน้อยลง ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และขาดแรงงานที่มีคุณภาพ แต่กว่าที่เด็กคนหนึ่งจะโตขึ้นมานั้นต้องเผชิญกับอันตรายหลายอย่างมากมาย แต่ใครจะนึกถึงว่า สาเหตุที่พรากชีวิตเด็กไทยสูงที่สุดในหนึ่งปีคือ ‘จมน้ำตาย’

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในแต่ละปีมีคนจมน้ำเสียชีวิต 236,000 ราย โดย 1 ใน 4 คือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 

‘เด็กจมน้ำ’ ปัญหาใหญ่ที่ไม่ใหม่ แต่ยังคงเป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ทุกปี เข้าปิดเทอมใหญ่ ช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน เด็กไม่ไปโรงเรียน และมักว่างออกไปเล่นซุกซนตามแบบฉบับเด็ก แต่มีหลายครั้งที่ความซุกซนนั้นพาตัวเองไปสู่สถานการณ์ที่อันตราย  

ปี 2566 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำช่วงปิดเทอมหน้าร้อน หรือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มากถึง 202 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย 

สำหรับประเทศไทย การเก็บสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในช่วง 10  ปี ระหว่าง 2556-2566 พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิต 6,992 ราย ซึ่งตัวเลขของกรมควบคุมโรคคำนวณว่า เฉลี่ยปีละ 904 ราย หรือวันละ 2.5 ราย สูงที่สุดคือซึ่งเด็กอายุ 1-9 ปี และในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม และอยู่ในฤดูร้อน สาเหตุที่พบบ่อยคือ ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และการช่วยเหลือคนตกน้ำ-จมน้ำที่ถูกต้อง และพื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุดคือภาคอีสาน

สถิติที่ดูน่ากลัวเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ปัญหาเด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นปัญหาที่ยังคงแก้ไขไม่ได้ ขณะปัญหาที่กำลังคืบคลานมาในตอนนี้คืออัตราการเกิดที่ต่ำจะทำให้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในทุกที เด็กที่ตอนนี้เป็นดั่งทรัพยากรสำคัญของประเทศ รัฐพยายามพัฒนา หรือรักษาคุณภาพชีวิตพวกเขาอย่างไร 


การแก้ปัญหาเด็กจมน้ำของภาครัฐ 


การจมน้ำเกิดจากการที่ผู้ปกครองไม่ดูแล หรือเรื่องการสอนให้เด็กสามารถเอาตัวรอดได้จากสถานการณ์ที่มีตัวชี้วัดขนาดนี้ต้องเป็นรัฐที่ป้องกัน มากกว่าผู้ปกครองที่ต้องออกไปทำงานในทุกวัน แล้วคำถามที่สำคัญสำหรับปิดเทอมฤดูร้อนนี้ ‘วันนี้ลูกของคุณว่ายน้ำเป็นหรือยัง?’ 

ย้อนกลับไปในปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เคยดันนโยบาย ‘เด็กไทยว่ายน้ำเป็น’ ซึ่งประธานกรรมการฯ ระบุว่า ผลักดันหลักสูตรการสอนว่ายน้ำของ สพฐ. ไม่ใช่การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว หรือสอนว่ายน้ำตามท่ามาตรฐาน แต่ต้องสอนให้เด็กมีทักษะการเอาตัวรอดในน้ำด้วย อาทิ การฝึกลอยตัวในน้ำได้ 

แม้การพยายามออกนโยบาย และผลักดันการสอนว่ายน้ำให้เด็กไทยจะมีมานาน แต่ยอดการเสียชีวิตของเด็กจากการจมน้ำยังคงเป็นอันดับ 1 แล้วมันเกิดจากอะไร? 

ในปี 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน ได้เห็นชอบแนวทางการลดปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กและเยาวชนไทย สอดรับกับมติสมัชชาสหประชาชาติที่ต้องการป้องกันการจมน้ำของเด็กทั่วโลก โดยเสนอแนวทางดังนี้ 

1. กระทรวงศึกษาฯ บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนว่ายน้ำขั้นพื้นฐานเป็นวิชาบังคับในสถานศึกษาที่มีความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์กรณีที่สถานศึกษามีข้อจำกัดด้านสถานที่และอุปกรณ์ให้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสระว่ายน้ำเคลื่อนที่สำหรับเด็กและเยาวชนได้ฝึกว่ายน้ำเพื่อให้มีทักษะการว่ายน้ำและสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

2. กระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดทำองค์ความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำของเด็กและเยาวชนในรูปแบบสื่อประเภทต่างๆ พร้อมเผยแพร่ในสถานศึกษาผ่านช่องทางที่หลากหลาย

3. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครองครู และประชาชนทั่วไปในการป้องกันและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนจากการจมน้ำ

4. กระทรวงศึกษาฯ กำหนดค่าเป้าหมายและมาตรการในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการป้องกันการจมน้ำ พร้อมติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

5. ร่วมกันวางแผนและกำหนดพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน

ต่อมาในรัฐบาลใหม่ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า

“แชร์ทรัพยากรของสถานศึกษาที่พร้อมกว่า เช่น สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่ยังมีความขาดแคลน” เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567

การกล่าวเช่นนี้ของรัฐมนตรีว่า กระทรวงศึกษาธิการ แสดงให้เห็นว่า การฝึกให้เด็กทุกคน ‘ว่ายน้ำเป็น’ ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงในทุกโรงเรียน เพราะสระว่ายน้ำ ห้องเรียนสำคัญที่จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กฝึกการว่ายน้ำไม่ได้มีอยู่ในทุกโรงเรียน

เมื่อดูนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ 2567-2568 ไม่พบนโยบายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ หรือเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตแก่เด็ก เมื่อหาข้อมูลการศึกษาไทย พบ หลักสูตรการสอนว่ายน้ำ ยังไม่ใช่วิชาบังคับในทุกโรงเรียน 

และหากดูเฉพาะภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด จะพบว่า โรงเรียนมัธยม และประถม ก็ไม่สามารถเข้าถึงสระว่ายน้ำได้อย่างเท่าเทียม ด้วยทรัพยากร และงบประมาณที่จำกัด

นโยบายการศึกษาที่รัฐบาลใหม่พยายามผลักดันคือ การลดภาระ และความเหลื่อมล้ำนักเรียน แต่การที่การศึกษาเรื่องว่ายน้ำยังไม่ได้เข้าถึงทุกโรงเรียนนั้น เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำหรือไม่?

นอกจากนี้ ในหลักสูตรแกนกลางกลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ของ สพฐ. ก็มีเพียงเรื่องของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชีวิตและครอบครัว การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกฬาสากล การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค ความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับการทำให้เด็กไทยปลอดภัยจากการจมน้ำเสียชีวิตได้โดยตรง

ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำไม่ได้มีเพียงแค่กระทรวงศึกษาธิการ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ทำข้อมูลและโครงการต่างๆ ไม่ว่าในภายในเว็บมีการจัดข้อมูลความรู้ เปิดหลักสูตรช่วยเหลือคนจมน้ำ มีการจัดอบรมภาคปฏิบัติ 

สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ ‘ว่ายน้ำเพื่อชีวิต’ ที่เข้าไปพัฒนาทักษะการว่ายน้ำในชุมชนเสี่ยงต่อการจมน้ำทุกภูมิภาคของประเทศไทยนั้น กองบังคับการตำรวจน้ำ ได้จัดโครงการ ‘ตำรวจน้ำสอนน้องว่ายน้ำ’ เพื่อให้ปิดเทอมนี้ท่องเที่ยวปลอดภัย มาเรียนว่ายน้ำกับตำรวจน้ำได้ฟรีในปี 2566 

อย่างไรก็ตาม โครงการที่หน่วยงานอื่นทำเพื่อเพิ่มทักษะการช่วยชีวิตและช่วยเหลือตัวเองขณะจมน้ำ จะมีหลายโครงการ แต่จำนวนผลผลิตไม่ได้ครอบคลุมกับทุกคน หากรัฐต้องต้องการพัฒนาคุณภาพเด็ก และเล็งเห็นถึงอันตราการเกิดที่ต่ำลงทุกปี ปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำไม่ควรถูกมองข้าม หรือมองว่าไกลตัว ทำไม่ได้ เพราะทุกโรงเรียนไม่มีสระว่ายน้ำ แต่การเรียนรู้ทักษะว่ายน้ำขั้นพื้นฐานเพื่อเอาชีวิตรอด ควรเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนที่เข้าระบบการศึกษาต้องได้เรียนรู้ เพื่อป้องกันเหตุที่ก่อให้เกิดการสูญเสียได้ไม่มากก็น้อย 


อ้างอิง 1 2 3 5 8 9



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

5 ภัยใกล้ตัวเด็ก และทักษะพื้นฐานควรรู้ เพื่อป้องกันการสูญเสีย

Slice of Life : ความตายของคนไม่รู้จัก

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat