Humberger Menu

Spotlight: ทักษิณลงชายแดนใต้–ขอโทษความผิดในอดีต, จับตา กคพ. ประชุมรับเรื่องโพยฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษ, ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Politics & Society

Current Issues

Politics

25 ก.พ. 68

creator
กองบรรณาธิการ
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • ทักษิณ ชินวัตร ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียน ซึ่งเกิดเหตุระเบิดรถกระบะก่อนหน้าเพียง 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ทักษิณได้กล่าวขอโทษต่อความผิดพลาดในการสลายการชุมนุมตากใบปี 2547 และหวังให้ปัญหาชายแดนใต้ยุติในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
  • หลัง DSI พบหลักฐานการจัดทำ ‘โพยฮั้ว’ เลือก สว. ซึ่งประธาน สว. ได้ออกมายืนยันว่าการได้มาซึ่ง สว. เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดย กคพ. เตรียมประชุมวันนี้ (25 ก.พ.) คาดว่าจะรับเป็นคดีพิเศษ
  • ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล วันที่ 27 ก.พ. ขอกรอบอภิปราย 5 วัน โดยมีประเด็นหลักคือความไม่โปร่งใส ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาล และคาดว่าคดีฮั้วเลือก สว. และปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะเป็นหนึ่งในประเด็นที่จะกล่าวถึงเช่นกัน ที่สำคัญคือฝ่ายค้านระบุว่ามีข้อมูลจากพรรคร่วมรัฐบาลเองด้วย ซึ่งแสดงถึงปัญหาภายในรัฐบาลอย่างชัดเจน

...


Spotlight จับ 3 ประเด็นน่าสนใจมาเล่าเป็นสรุปสั้นๆ ว่ารอบๆ ตัวเรามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเรื่องสำคัญน่าจับตาช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568 คือ


ทักษิณลงชายแดนใต้–ขอโทษความผิดในอดีต

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียน และคณะ พบปะกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำเครือข่ายชาวไทยพุทธเพื่อหารือถึงการแก้ปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งก่อนหน้านั้นเพียง 1 ชั่วโมงเกิดเหตุระเบิดรถกระบะ ภายในสนามบินนราธิวาส ก่อนทักษิณและคณะจะลงพื้นที่ ซึ่งทักษิณมองว่าการกระทำนี้เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น 

สิ่งที่กลายเป็นที่พูดถึงมากของการลงพื้นที่ของทักษิณคือการกล่าวขออภัยต่อความผิดพลาดในการสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ เมื่อปี 2547 ระหว่างที่กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับที่โรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 

ทักษิณยังให้สัมภาษณ์กรณีเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งคดีหมดอายุความ 20 ปี โดยไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ว่า

“เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาดที่ไม่เป็นที่พอใจก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย”

ทักษิณยังย้ำอีกว่าปัญหาในพื้นที่ควรจะยุติได้ในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และมีแพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวของตนเป็นนายกฯ

ก่อนหน้านี้ที่ทักษิณจะลงพื้นที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ ครม. สัญจร จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งไม่ได้ลงไปยังพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ประชุมการพัฒนาพื้นที่และการแก้ปัญหาชายแดนใต้ที่จังหวัดสงขลาแทน

โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมจากหลากหลายฝ่ายมารวมตัวกัน เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและเครือข่ายพิทักษ์สายน้ำปัตตานี ที่ต้องการยื่นหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ แต่มีเพียงตัวแทนมารับและมีการรับหนังสือผ่านรูปถ่าย


จับตา กคพ. ประชุมรับเรื่องโพยฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษ

จากที่เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เปิดเผยผลการสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตในการเลือกตั้ง สว. โดยพบหลักฐานการจัดทำ ‘โพยฮั้ว’ เป็นรายชื่อผู้สมัครที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า

ทางด้าน สว. นำโดย มงคล สุระสัจจะ ประธาน สว. ได้แถลงข่าวปกป้องศักดิ์ศรี สว. ยืนยันว่าการได้มาซึ่งตำแหน่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และระบุว่า DSI ไม่มีอำนาจในการสอบสวนเรื่องนี้

ส่วนหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อย่างอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าพรรคภูมิใจไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้ง สว. โดยยืนยันว่าพรรคไม่มีส่วนร่วม และได้ออกหนังสือถึงสมาชิกพรรค 2 ครั้ง เพื่อห้ามยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว

นอกจากนี้อนุทิน ยังระบุว่าบทบาทของกระทรวงมหาดไทย คือการอำนวยความสะดวกให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ได้กล่าวว่าขณะนี้ DSI อยู่ระหว่างการสอบสวน และหากพบว่ามีการกระทำผิดเป็นขบวนการและมีผลกระทบต่อสังคม อาจรับเป็นคดีพิเศษ

ในการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2568) จะมีวาระการประชุมกรณีดังกล่าว ซึ่งจะมีการนำเอาพยานเอกสารหลักฐานต่างๆ เข้าเสนอต่อคณะกรรมการฯ ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าจะถูกบรรจุรับเป็นคดีพิเศษโดยการพิจารณาของ กคพ.


ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

พรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่าง ไทยสร้างไทย เสรีรวมไทย พลังประชารัฐ และเป็นธรรม เตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ มาตรา 151 รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ โดยขอกรอบอภิปรายทั้งสิ้น 5 วัน

ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ระบุว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มีอีกหลายประเด็นที่ได้ข้อมูลมา บางส่วนได้รับมาจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง ซึ่งชี้ชัดว่าเมื่อรัฐบาลขาดความมีเอกภาพ ทำให้การดำเนินนโยบายหลายเรื่องที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไม่สามารถเดินหน้าได้

ทั้งนี้เรื่องที่ DSI ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวข้องกับการฮั้วเลือก สว. จะอยู่ในกรอบญัตติที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยเช่นกัน โดยกรอบการยื่นญัตติในภาพรวมจะเป็นเรื่องความไม่โปร่งใส การไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง รวมถึงปัญหาสำคัญของประชาชน อาทิ แก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือปัญหาอื่นๆ ซึ่งยังไม่ขอลงในรายละเอียด และให้รอติดตามในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

ทักษิณได้ประกันตัวคดี 112 หากนักกิจกรรมไม่ได้ประกัน อาจเกิดคำวิจารณ์เรื่อง ‘สองมาตรฐาน’

ทักษิณบนชั้น 14 ยังสบายดีไหม? เมื่อ กมธ.ตำรวจ ไป ‘ศึกษาดูงาน’ มาตรฐานดูแลนักโทษ ท่ี รพ.ตำรวจ

26 กุมภาพันธ์ 12 ปี พิพากษายึดทรัพย์ทักษิณ 46,000 ล้านบาท

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat