ฟ้องหมิ่น-อ้างสิทธิ์-คัดลอก-ช็อปงานวิจัย ข้อกล่าวหาสะเทือนแวดวงวิชาการไทย อาจเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง?
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แวดวงวิชาการไทยเผชิญมรสุมข้อกล่าวหาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกผลงานไปจนถึงการซื้อขาย หรือ ‘ช็อปงานวิจัย’ เพื่อให้มีชื่อตนเองเป็นผู้ร่วมวิจัย ถึงขั้นที่ Times Higher Education ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์-จัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ต้องติดตามรายงานสาเหตุที่นำไปสู่การละเมิดจริยธรรมทางวิชาการในประเทศไทย
- Times Higher Education อ้างอิงบทสัมภาษณ์นักวิชาการไทยส่วนหนึ่งซึ่งระบุว่า งานวิจัยคือปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก แต่เรื่องนี้กลายเป็นดาบสองคมเพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งกดดันให้อาจารย์ทำวิจัยเผยแพร่ผลงานเพื่อสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน เรื่องนี้จึงส่งผลต่อความก้าวหน้าทางอาชีพและการปรับฐานเงินเดือน อาจารย์บางส่วนจึงใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่รวดเร็วและตอบสนองเป้าหมายของต้นสังกัด
- ในเดือนเมษายน 2568 มีคดีความเกี่ยวกับแวดวงวิชาการไทยเพิ่มเติม 2 เรื่อง คือ กรณี พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน ในสังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร ถูก กอ.รมน. กล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และกรณีผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไถ่ถามความคืบหน้าเรื่องร้องเรียนการทำผิดวินัยงานวิจัย ซึ่งทั้งสองเรื่องอาจส่งผลต่อเสรีภาพทางวิชาการและกระบวนการตรวจสอบทางวิชาการในไทย
...

Author
ตติกานต์ เดชชพงศ
พลเมืองโลกผู้ใส่ใจในรายละเอียด แม้บางเรื่องจะมีคนบอกว่า 'ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้' แต่อีกหลายเรื่องก็ยังอยากจะเล่าให้ฟังอยู่ดี