การบิดเบือนทางวัฒนธรรมของคำว่า ‘อินดี้’ ในหนังไทย กับการนำเสนอภาพท้องถิ่นที่ยังต้องถกเถียง
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- จากความสำเร็จของหนังไทบ้าน โดยเฉพาะในภาคอีสาน ทำให้เกิดความหวังที่น่าตื่นเต้นขึ้นในวงการหนังไทย นั่นคือการกระจายภาคการผลิตไปในแต่ละภูมิภาค แทนที่จะมองเห็นกลุ่มคนดูเพียงแค่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ถูกวาดหวังว่าจะมุ่งไปสู่การนำเสนอจิตวิญญาณผ่านคนในท้องถิ่น ที่อาจก่อให้เกิดความหลากหลายของเนื้อหา
- อย่างไรก็ดี รูปแบบงานสร้างของทั้ง ‘มนต์รักดอกผักบุ้งฯ’ และ ‘ส้มป่อย’ อาจกำลังบิดเบือนความหมายของ ‘อินดี้’ ที่แปลว่า ‘อิสระ’ ไปสู่การจำกัดความจิตวิญญาณท้องถิ่น -ที่ควรเป็นอิสระจาก ‘ค่านิยมทางวัฒนธรรมจากส่วนกลาง’ อย่างสมบูรณ์- ด้วยรูปแบบงานสร้างผ่านระบบสตูดิโอ
- เมื่อรูปแบบการสร้างผิดเพี้ยนไปจากโมเดลอินดี้อีสานแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการพยายามทำให้หนังสื่อสารกับคนวงกว้างมากที่สุด จนนำไปสู่การตั้งคำถามว่าตัวงานเองสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้กับคนในพื้นที่ได้จริงหรือ?
...

Author
นคร โพธิ์ไพโรจน์
คอลัมนิสต์ คนเขียนบท และผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ