สนทนากับ คำหอม ศรีนอก : จาก ‘ฟ้าบ่กั้น’ วรรณกรรมแห่งฤดูกาลของคุณพ่อ สู่โปรเจกต์ ‘ลาว คำหอม MasterClass’ สอนเขียนเรื่องสั้น ปั้นคนรุ่นใหม่ในวงการหนังสือ
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- ทุกครั้งที่บรรยากาศทางการเมืองมีความตื่นตัวเกี่ยวกับแนวคิดประชาธิปไตย หรือต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม ‘ฟ้าบ่กั้น’ มักถูกถามหาในฐานะวรรณกรรมแห่งยุคสมัย ที่เปรียบเสมือนตัวแทนคำร้องทุกข์จากผู้ยากไร้ ซึ่งแม้จะถูกเขียนมาเนิ่นนาน แต่ด้วยเนื้อหาอันคมคายที่สะท้อนความจริงของสังคมไทยซึ่งไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ผ่านการใช้ภาษาที่งดงามแจ่มชัด ทำให้กาลเวลาไม่สามารถทำลายวรรณกรรมเล่มนี้ลงได้
- ‘ฟ้าบ่กั้น’ จัดเป็นหนึ่งในร้อยวรรณกรรมที่คนไทยควรอ่าน ตีพิมพ์ครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ เกวียนทอง เมื่อปี พ.ศ. 2501 ภายใต้การผลักดันของ ศรีบูรพา นับจากนั้นก็มีการพิมพ์ซ้ำเรื่อยมา และยังมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศอีกถึง 9 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, สวีดิช, เดนิช, ดัตช์, ญี่ปุ่น, ศรีลังกา, มาเลย์, เยอรมัน และฝรั่งเศส
- เมื่อเอ่ยถึง ‘ฟ้าบ่กั้น’ ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อ ลาว คำหอม นักเขียนผู้ทำให้วรรณกรรมทรงอิทธิพลเล่มนี้เกิดขึ้นคู่กันไปเสมอ แต่นักเขียนกลับบอกว่า ตนเองเป็นนักสังคมนิยม เพราะเขียนเรื่องราวของสังคม ในความคิดของคนสังคมนิยม เรื่องสั้นใน ‘ฟ้าบ่กั้น’ จึงเป็นผลิตผลของคนสังคมนิยม
- นอกจากเขียนเรื่องราวของสังคมแล้ว อีกไม่นานนี้ ลาว คำหอม ยังจะขึ้นแท่นเป็นเมนเทอร์แนะนำวิธีการเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกในชีวิต นี่จึงคือโปรเจกต์ MasterClass ที่วงการหนังสือต้องจับตามอง – เราจึงชวน คำหอม ศรีนอก บุตรสาวคนกลางของ ลาว คำหอม (คำสิงห์ ศรีนอก) มาเล่าเรื่องของพ่อให้ฟัง
...
Author
สุพัตรา สุขสวัสดิ์
อดีตบรรณาธิการนิตยสารบนเครื่องบิน ชอบการเดินทางและการอ่านทุกรูปแบบ เพราะเชื่อว่า การเดินทางคือการเปิดโลก และการอ่านสามารถเปลี่ยนชีวิตให้กับคนเราได้