DABOYWAY กับทุกบีตของชีวิต ที่เต้นเป็นจังหวะฮิปฮอป
...
LATEST
Summary
- เวย์-ปริญญา อินทชัย คือศิลปินเดี่ยวที่ปล่อยผลงานเพลงของตัวเองในนาม DABOYWAY มาตั้งแต่ปี 2563 หลังจากเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Thaitanium (ไทยเทเนียม) วงฮิปฮอปที่ถือเป็น ‘พี่ใหญ่’ ผู้บุกเบิกวัฒนธรรมฮิปฮอปในไทยมาตั้งแต่ AA อัลบั้มชุดแรกที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2543
- จากประสบการณ์ที่อยู่ในวงการเพลงมานานกว่า 20 ปี ทำให้ DABOYWAY เป็นแร็ปเปอร์ที่มีความสามารถ ทั้งในเรื่องของการทำเพลง, แต่งเพลง และมีวิสัยทัศน์ในการมองวงการเพลงฮิปฮอปที่เฉียบคม
- ล่าสุด เขาได้จับมือกับศิลปินญี่ปุ่นในการสร้างสรรค์โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า bpm asia presents “Thai Japan Music Camp” Executive produced by: DABOYWAY and HOKT โดยมีจุดมุ่งหมายคือการแลกเปลี่ยนมุมมองทางดนตรีของทั้งสองประเทศผ่านวัฒนธรรมฮิปฮอปร่วมสมัย โดย bpm plus asia ซึ่งเป็นค่ายเพลงชั้นนำของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งในปี 2021 ส่วนเป้าหมายของค่ายก็คือการนำศิลปินเอเชียที่น่าสนใจมาร่วมงานกัน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมดนตรีเอเชียให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดนตรีแนว ‘เอเชียนฮิปฮอป’
- ในช่วงบ่ายอันร้อนระอุของวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ DABOYWAY เกี่ยวกับโปรเจกต์นี้ และอีกหลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานส่วนตัวของเขา ที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความรักในดนตรีฮิปฮอปที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน
...
ถ่ายภาพ : จิตติมา หลักบุญ
นอกจากจะเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Thaitanium (ไทยเทเนียม) วงฮิปฮอปที่ถือเป็น ‘พี่ใหญ่’ ผู้บุกเบิกวัฒนธรรมฮิปฮอปในไทยมาตั้งแต่ AA อัลบั้มชุดแรกที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2543 …เวย์-ปริญญา อินทชัย ก็ยังเป็นศิลปินเดี่ยวที่ปล่อยผลงานเพลงของตัวเองในนาม DABOYWAY มาตั้งแต่ปี 2563 และเคยทำเพลงภายใต้การดูแลของค่ายใหญ่ระดับโลกอย่าง Def Jam Recordings มาแล้ว
จากประสบการณ์ที่อยู่ในวงการเพลงมานานกว่า 20 ปี ทำให้ DABOYWAY เป็นแร็ปเปอร์ที่มีความสามารถ ทั้งในเรื่องของการทำเพลง, แต่งเพลง และมีวิสัยทัศน์ในการมองวงการเพลงฮิปฮอปที่เฉียบคม โดยในมุมมองของแร็ปเปอร์หนุ่มคนนี้ การพัฒนางานเพลงก็คือการมองเห็นตัวเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ผ่านทุกถ้อยคำที่อยู่ในทุกบทเพลงที่เขาแต่งออกมา
โปรเจกต์ใหม่ ฮิปฮอปไทย/ญี่ปุ่น
ล่าสุด DABOYWAY ได้จับมือกับศิลปินญี่ปุ่นในการสร้างสรรค์โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า bpm asia presents “Thai Japan Music Camp” Executive produced by: DABOYWAY and HOKT โดยมีจุดมุ่งหมายคือการแลกเปลี่ยนมุมมองทางดนตรีของทั้งสองประเทศผ่านวัฒนธรรมฮิปฮอปร่วมสมัย โดย bpm plus asia ซึ่งเป็นค่ายเพลงชั้นนำของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งในปี 2021 ส่วนเป้าหมายของค่ายก็คือการนำศิลปินเอเชียที่น่าสนใจมาร่วมงานกัน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมดนตรีเอเชียให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดนตรีแนว ‘เอเชียนฮิปฮอป’
ในช่วงบ่ายอันร้อนระอุของวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ DABOYWAY เกี่ยวกับโปรเจกต์นี้ และอีกหลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับสตูดิโอส่วนตัวของเขา ที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความรักในดนตรีฮิปฮอปที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าไปในห้องรับแขกที่เต็มไปด้วยแผ่นเสียงฮิปฮอปมากมาย ซึ่งมีทั้งงานเพลงเมนสตรีม และอันเดอร์กราวนด์ ส่วนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ภายในสตูดิโอที่กลายเป็นห้องสัมภาษณ์ชั่วคราว ก็ยังแสดงให้เราเห็นว่า DABOYWAY ยังอยู่ในระหว่างการทำงานเพลงของตัวเอง และได้เตรียมเพลงจากอัลบั้มชุดใหม่ให้เราได้ฟังเอาไว้แล้ว
“เริ่มฟังกันเลยไหมครับ”
นี่เป็นถ้อยคำแรกที่แร็ปเปอร์หนุ่มบอกกับเรา ก่อนที่จะเริ่มต้นการสัมภาษณ์ และเราก็ได้ฟังเพลงจากอัลบั้มในโปรเจกต์ Thai Japan Music Camp ที่มีจำนวน 10 เพลง และได้ศิลปินไทย 11 คน กับศิลปินญี่ปุ่นอีก 11 คน มาร่วมงานกัน ซึ่งเราคงต้องบอกว่างานเพลงชุดนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพจริงๆ
“ทาง Thaitanium และ DABOYWAY มีคอนเนกชันกับทางญี่ปุ่นผ่านดนตรีฮิปฮอปมานาน 20 ปีแล้วครับ เราเคยไปออกอัลบั้ม ‘ต้มยำซามูไร’ ที่โอซาก้ากับเพื่อนๆ ชาวญี่ปุ่นมาแล้ว ส่วนวง Thaitanium เองก็เคยปล่อยอัลบั้มเต็มที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2014 เราเลยรู้จักคนในวงการฮิปฮอปที่ญี่ปุ่นค่อนข้างเยอะ ซึ่งเราก็ติดต่อกันมาเรื่อยๆ แล้วพอหมดโควิด ไทยเปิดประเทศและเกิดกัญชาเสรี ทุกคนเลยเข้ามาที่เมืองไทย
“ส่วน ฮกโตะ (HOKT) ที่เป็นเพื่อนแร็ปเปอร์ที่รู้จักกันมา 18 ปี เขามาไทยแล้วก็คิดว่าจะทำยังไงให้เกิดการทำงานเพลงร่วมกัน ระหว่างศิลปินญี่ปุ่นกับศิลปินไทยยุคนี้ดี เขาเลยอยากลองทำเป็น Writng Camp (การทำงานเพลงร่วมกับศิลปินเป็นกลุ่ม) กันไหม เราก็เห็นภาพทันที ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นมันง่ายมาก เพราะเราเดินเข้าสตูดิโอกันเลย ขึ้นเพลงวันนั้น แล้วดูว่ามันจะออกมาเป็นยังไง แล้วช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผมก็เคยทำ Writing Camp มาหลายครั้งแล้ว มันก็เลยง่ายสำหรับผม”
ฮิปฮอปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม 2 สัญชาติ
แต่ในความง่าย ก็ยังมีความยากและท้าทายซ่อนอยู่ เพราะการทำงานเพลงกับศิลปินหลายๆ คนที่มีแนวทางเป็นของตัวเอง ก็จำเป็นต้องดูภาพรวมเพื่อกำหนดทิศทางของอัลบั้มด้วย
“ทางญี่ปุ่น ซึ่งก็คือ ฮกโตะ จะเป็นคนเลือกศิลปินญี่ปุ่นทั้งหมด พอเขาบอกมาว่ามีศิลปินที่จะมาร่วมโปรเจกต์ด้วย 10 คน เราก็ดูรูปแบบของแต่ละคนว่า สไตล์, รูปแบบ, ซาวนด์ เป็นยังไง แล้วก็นำมาจับกับศิลปินไทย โดยสิ่งที่สำคัญก็คือ การนำเอาองค์ประกอบดนตรีฮิปฮอปแบบไทยและญี่ปุ่นมาผสมผสานกัน เพื่อที่จะดึงจุดเด่นของศิลปินแต่ละคนออกมา แต่เราก็ไม่เคยได้ทำเพลงด้วยกันมาก่อน ซึ่งวิธีการทำงานก็คือเข้าห้องอัดขึ้นเพลงกันวันแรกที่ได้เจอเลย ทำสดๆ กันที่สตูดิโอนี่เลย ศิลปินทุกคนจากทั้ง 2 กลุ่ม มากันทั้งหมด 3 รอบ ทำกันรอบละ 2-3 วัน ก็ได้ทั้งหมด 11 เพลง” DABOYWAY พูดถึงวิธีการทำเพลงสำหรับอัลบั้มชุดนี้
‘พะแนง’ เพลงที่โปรดิวซ์โดย BIGYASEN และได้แร็ปเปอร์ไทย/ญี่ปุ่นอย่าง Candee, JV.JARVIS และ ROSS มาประชันลีลาการแร็ปสุดมันด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอาหารของ 2 ประเทศที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่นผ่านอาหารการกินได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโปรเจกต์
“พะแนงของไทยมันอาจเทียบได้กับแกงกะหรี่ใช่ไหมครับ แต่พะแนงในภาษาญี่ปุ่นมันเป็นคำสแลงของเขานะ โดยความหมายของมันคือ เจ๋ง สุดยอด Like Panang อะไรแบบนี้ ซึ่งความหมายของคำคำนี้มันใช้กับทั้ง 2 ประเทศผ่านการเล่นคำได้เลย”
นี่จึงนับเป็นการใช้ภาษา 1 คำ 2 ความหมาย ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเพลงได้อย่างไม่ธรรมดา จนเราอยากรู้ว่า ใครเป็นคนออกไอเดียในการแต่งเพลงนี้
“โดยปกติแล้ว ศิลปินแต่ละคนก็จะมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไปในบางอย่าง แต่ก็อาจมีคล้ายกันบ้าง อย่างผมเวลาทำเพลง บางทีก็ยังไม่ได้ดนตรีนะ แต่จะได้คำหรือคอนเซปต์แล้ว คือยังไม่รู้หรอกว่าจังหวะจะเป็นแบบไหน แต่ก็พอรู้แล้วว่าจะพูดถึงอะไร บางทีผมก็ฟังดนตรีก่อน แล้วก็ทำให้คิดได้ว่า อ๋อ เราอยากจะพูดถึงเรื่องนี้นะ”
“วันที่แต่งเพลง Candee กับ JV.JARVIS เพิ่งจะมาเจอกันเป็นครั้งแรกในห้องนี้เลย แล้วทั้งคู่ก็คุยกันว่าจะแต่งเพลงที่พูดถึงอะไรดี ซึ่งตอนนั้นบีตหลักๆ ของเพลงยังไม่ได้ทำ แต่ BIGYASEN ที่เป็นโปรดิวเซอร์ก็เปิดบีตไปเรื่อยๆ จน Candee พูดคำว่า ‘พะแนง’ ออกมา แล้วก็พยายามอธิบายว่าพะแนงในความหมายของคนญี่ปุ่นมันแปลว่าอะไร ส่วน JV ก็บอกว่าพะแนงมันก็เหมือนแกงกะหรี่ของไทย ซึ่งหลังจากได้คอนเซปต์แล้ว ทั้งคู่ก็เขียนท่อนฮุกกันตรงนั้นเลย”
วิธีการเขียนเพลงลักษณะนี้นับว่าท้าทายอยู่ไม่น้อย เพราะต้องอาศัยทักษะการคิดสัมผัสสอดคล้องในการออกเสียงของเนื้อเพลง (rhyme) กันแบบสดๆ แล้วค่อยๆ เรียบเรียงเนื้อเพลงกับดนตรีให้เข้ากันให้ได้ – เราจึงถามต่อว่า โปรเจกต์นี้ใช้วิธีการทำเพลงแบบเดียวกันทั้งหมดเลยหรือเปล่า
“พะแนงเป็นเพลงที่ Candee กับ JV.JARVIS ทำด้วยกัน ณ ตอนนั้นเลยครับ แต่โดยปกติแล้ว ศิลปินแต่ละคนก็จะมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไปในบางอย่าง แต่ก็อาจมีคล้ายกันบ้าง อย่างผมเวลาทำเพลง บางทีก็ยังไม่ได้ดนตรีนะ แต่จะได้คำหรือคอนเซปต์แล้ว คือยังไม่รู้หรอกว่าจังหวะจะเป็นแบบไหน แต่ก็พอรู้แล้วว่าจะพูดถึงอะไร บางทีผมก็ฟังดนตรีก่อน แล้วก็ทำให้คิดได้ว่า อ๋อ เราอยากจะพูดถึงเรื่องนี้นะ”
วิธีสร้างสรรค์บทเพลงในแบบ DABOYWAY
เพื่อให้เข้าถึงแนวทางและความคิดในการทำเพลงแบบลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก เราจึงถาม DABOYWAY เพิ่มเติมว่า เมื่อมองไปที่เพลงอย่าง ‘พะแนง’ หรือ Cawaii ที่ได้ศิลปินไทย/ญี่ปุ่น อย่าง Kidella, TWOPEE มาประชันการแร็ป พร้อมผสมผสานดนตรีหลายสไตล์เข้าด้วยกัน (เช่น Trap, EDM) แล้ววิธีการสร้างซาวนด์ให้เข้ากับเนื้อหาของเพลงในแบบของ DABOYWAY นั้นเป็นอย่างไรกันแน่
“ผมไม่รู้ว่าศิลปินคนอื่นเขาทำเพลงกันแบบไหนนะ แต่สำหรับผม เพลงน่ะส่วนใหญ่จะต้องเป็นฝ่ายพาเราไป คือถ้าเราฟังดนตรีที่ทำออกมาแล้วรู้สึกว่า เฮ้ย มันเข้ากับอารมณ์ของเรา หมายความว่าอารมณ์ของเพลงมันทำให้เรารู้สึกยังไง แล้วคำมันก็จะเริ่มออกมาเป็นภาษามนุษย์ต่างดาวก่อน แล้วก็ค่อยๆ กลายเป็นคำ เป็นประโยค แต่สมมติว่า ถ้าเรานั่งตั้งใจเขียนโดยที่ยังไม่ได้ฟังเสียง ออกเสียงอะไรเลย มันก็อาจจะถูกเขียนเป็น rhyme ออกมาก่อน แล้วค่อยมาหาดนตรีเพื่อให้เข้ากับ rhyme
“แต่ส่วนใหญ่ผมจะชอบฮัมเมโลดี้ออกมาก่อน เพราะอย่างที่บอกคือ ผมอยากให้ดนตรีพาผมไปมากกว่า แต่การเขียนเพลงไปก่อน timing อาจจะยังไม่ใช่ (เนื้อเพลงที่ยังไม่ลงตัวกับจังหวะเพลง) แต่ผมคิดว่าคำเนี่ยสำคัญนะ หลายคำในเพลง ผมจะเก็บมันไว้แล้วก็หาบีต คืออาจจะตัดคำตรงนั้นออก แล้วเพิ่มคำที่เราอยากได้ใส่เข้าไปให้เข้ากับบาร์ (ห้องดนตรี) ที่เราเขียนไว้แล้วในหัว” DABOYWAY เผยรอยยิ้มให้เราเห็นในระหว่างการพูดคุย ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะเขาน่าจะอยากเล่าถึงสไตล์การทำเพลงของตัวเองแบบนี้มานานแล้ว
“คือแนวเพลง (genre) แต่ละแนวตอนนี้มันผสมกันไปหมดแล้วน่ะครับ สำหรับผม ดนตรีก็คือดนตรี มันคือภาษาสากล ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือญี่ปุ่น ก็สามารถมาจอยกันได้ ทั้งพลังและเคมีของดนตรีเมื่อมารวมกันแล้ว ก็สามารถสร้างสีสันดนตรีในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาได้ และสิ่งที่ผมกับเพื่อนศิลปินชาวญี่ปุ่นได้สร้างสรรค์กันมา ก็อยากให้มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นต่อๆ ไปได้ด้วย”
Rockstar เป็นอีกหนึ่งเพลงในโปรเจกต์นี้ที่น่าสนใจ ด้วยแนวดนตรีพังก์ร็อกในแบบวง Blink-182 ที่มีให้ได้ยินไม่ค่อยบ่อยนักในเพลงฮิปฮอปไทย ซึ่ง DABOYWAY เผยถึงที่มาของเพลงนี้ว่า “แร็ปเปอร์ที่ทำเพลงนี้ด้วยกันคือ Young Dalu และ Moon เขาทำเพลงด้วยกันสองเพลง ตอนแรกมันเป็นเพลง Trap (แนวเพลงย่อยของฮิปฮอปที่เน้นบีตสังเคราะห์ที่ซับซ้อนรวดเร็ว) ซึ่งผมว่าเคมีของทั้งคู่ดีมากๆ ก็เลยทำเพลงออกมาได้ดี ส่วนเพลง BAKA และ Cake Diet มันเป็นช่วงที่เราอยากจะทำเพลงที่สนุกสนานออกมาเต้นกัน เพราะทุกคนอึดอัดมานานจากโควิด แล้วมีอยู่ช่วงนึงที่ผมเป็นเหมือน ‘ลูกโป่งที่ชนเพดาน’ น่ะครับ ผมพยายามหาทางออก แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็เลยไม่คิดมาก ขอทำอะไรก็ได้ที่ทำแล้วมีความสุข ให้แฟนๆ มาสนุกกับเราได้ ในตอนที่เขามาดูโชว์เราดีกว่า”
แล้วคิดยังไงที่นำเอาแนวทางของพังก์ร็อกกับฮิปฮอปมาผสมผสานกัน – เราถาม
“คือแนวเพลง (genre) แต่ละแนวตอนนี้มันผสมกันไปหมดแล้วน่ะครับ สำหรับผม ดนตรีก็คือดนตรี มันคือภาษาสากล ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือญี่ปุ่น ก็สามารถมาจอยกันได้ ทั้งพลังและเคมีของดนตรีเมื่อมารวมกันแล้ว ก็สามารถสร้างสีสันดนตรีในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาได้ และสิ่งที่ผมกับเพื่อนศิลปินชาวญี่ปุ่นได้สร้างสรรค์กันมา ก็อยากให้มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นต่อๆ ไปได้ด้วย
“ตอนนี้ผมเลยรู้สึกเหมือนได้พบกับการผจญภัยครั้งใหม่ในอาชีพศิลปินของตัวเอง ช่วงนี้ก็กำลังหาซาวนด์ใหม่ๆ แล้วก็ได้อัดไปหลายเพลงแล้ว สำหรับโปรเจกต์อัลบั้มของ DABOYWAY นี่ผมทำเสร็จไปแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วเดี๋ยวก็จะทยอยปล่อยเป็นซิงเกิลออกมาเรื่อยๆ รับรองว่าเซอร์ไพรส์แน่นอน เพราะผมมีความมั่นใจ และมีความสุขในผลงานที่กำลังทำอยู่มากๆ”
เพราะวัฒนธรรมฮิปฮอป คือการเล่าเรื่องถึงชีวิตและผู้คน
เวย์เป็นแร็ปเปอร์ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกวง Thaitanium มานานมาก เราจึงสนใจว่า มุมมองในการแต่งเพลงและทำดนตรีในสมัยที่เขายังเป็นวัยรุ่นกับในตอนนี้ แตกต่างกันแค่ไหน
“สำหรับการแต่งเพลง มันก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากครับ เพราะมันเป็นการดึงประสบการณ์และความทรงจำมาจากชีวิตตัวเอง หรือคนรอบข้างที่เราคอยสังเกตอยู่ตลอด ทำให้มุมมองหรือรูปแบบในการแต่งเพลงไม่ได้เปลี่ยน แต่คอนเซปต์ก็อาจจะมีโตขึ้นตามวัยนะ ผมมองว่าถ้าเราได้พบความจริง หรือมีอะไรบางอย่างที่อยากถ่ายทอดออกมา ผมก็คิดว่ามันจะไม่ตันหรอก คือแค่ขอให้ได้ใช้ชีวิต หรือมีประสบการณ์ต่างๆ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำงานเพลง เพียงแต่มันจะไม่ได้ออกถี่เหมือนสมัยเด็กๆ แต่เราก็ยังคงทำเพลงอยู่
“ผมคิดว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดในการแต่งเพลง และสิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นแร็ปเปอร์สำหรับผม คือการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาให้เข้าถึงความรู้สึกของผู้คน”
“ผมคิดว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดในการแต่งเพลง และสิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นแร็ปเปอร์สำหรับผม คือการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาให้เข้าถึงความรู้สึกของผู้คน”
จากคำตอบนี้ทำให้เราเห็นได้ว่า ฮิปฮอปมีอิทธิพลกับชีวิตและตัวตนของเขามากแค่ไหน เพราะในมุมมองของ DABOYWAY ฮิปฮอปไม่ใช่แค่แนวดนตรี แต่มันคือตัวตน ชีวิต และผู้คน
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเป็นอยู่ในทุกวันนี้ ถ้าไม่ได้รับอิทธิพลมาจากฮิปฮอป ผมก็คงไม่ได้เป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว, การวางตัว, บุคลิก, ท่าทาง มันอยู่ในตัวผมทั้งหมด”
เราจึงอยากย้อนถามเขาอีกสักหน่อยว่า แล้วถ้าให้เทียบการทำงานเพลงส่วนตัว กับการทำเพลงกับวง Thaitanium เราสามารถใส่ตัวตนของเราเองเข้าไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือแตกต่างกันอย่างไร
“ถ้าถามว่ามันต่างกันแค่ไหน การทำงานกับ Thaitanium มันจะต่างออกไปนิดหน่อยนะ แต่ขั้นตอนการทำงานไม่ต่างกันมากหรอกครับ คือถ้าเป็นศิลปินเดี่ยว เราจะคิดว่า ‘อะ กูชอบแบบนี้’ ไม่ต้องคอยคิดว่าใครจะชอบด้วยหรือเปล่า แต่ถ้าเข้าโหมดของการทำงานกลุ่ม มันก็ต้องมีทีมเวิร์ก ซึ่งมันก็ไม่ได้ฝืนความเป็นตัวเราหรอก เพราะมันเป็นที่ที่เราอยู่มาไม่รู้กี่ปีแล้ว”
การเป็นศิลปินเดี่ยว คือการค้นหาตัวเอง
“เหตุผลสำคัญที่อยากทำงานเดี่ยว ก็คือผมเป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก และผมถนัดการเขียนเพลงเป็นภาษาอังกฤษเสียส่วนใหญ่ อย่างที่สองก็คือผมมีอะไรที่อยากจะพูดเยอะ แล้วถ้าเป็นภาษาที่ผมแข็งแรง มันก็จะเป็นผลดีสำหรับผม คือ Thaitanium ต้องเน้นเขียนเพลงเป็นภาษาไทยให้คนไทยฟัง ซึ่งผมก็ทำได้แหละ แต่มันจะไม่ได้ออกมาแข็งแรง หรืออาจแสดงออกถึงความรู้สึกได้ไม่ครบอย่างที่เราต้องการ
“สิ่งที่ท้าทายในการเป็นศิลปินเดี่ยว คือการหาซาวนด์ที่เป็นของตัวเองให้ได้ เพราะเราทำเพลงอยู่กับเพื่อนๆ ในวงมานาน ซึ่งสมัยอยู่ Thaitanium ผมไม่ได้เป็นคนทำดนตรีนะ เลยต้องรอเพื่อนๆ มาจูนกันเป็นกลุ่ม ต้องหาเวลามานั่งเขียนเพลง แล้วก็ต้องหาจุดร่วมกับเพื่อนๆ ให้ได้ด้วย
“ส่วนการทำเพลงเดี่ยว มันต้องไปหาโปรดิวเซอร์คนอื่นๆ หาบีต หาเนื้อเพลง ซึ่งพอมาเป็นงานโซโล่ ผมไม่ได้นั่งเขียนเพลงด้วยนะ แต่ผมร้องมันออกมาเลย บางครั้งก็อาจจะไม่ได้เป็นคำพูด แต่ออกมาเป็นเมโลดี้ คือมันต้องหาตัวเองให้เจอน่ะครับ เพราะก่อนหน้านี้ ผมก็มักจะมีคำถามว่า เออ กูร้องเพลงได้จริงๆ หรือเปล่าวะ แล้วกูจะร้องเพลงเพราะไหม” เวย์ยังพูดถึงความไม่มั่นใจที่เขามีต่อตัวเอง หลังจากเคยทำเพลงกับวง Thaitanium แล้วต้องมาทำเพลงด้วยตัวเองทั้งหมด
“ตอนแรกผมยังฟังตัวเองไม่รู้เรื่องเลย (หัวเราะ) กว่ามันจะออกมาเป็นเพลง เราก็ต้องหาเสียงในแบบของตัวเองให้เจอก่อน ต้องทดลองร้องภาษาอังกฤษหลายๆ แบบ นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามทำ และต้องทำให้ได้”
โดยการที่เขารู้สึกไม่มั่นใจจนต้องตั้งคำถามกับตัวเองนั้น อาจเป็นผลมาจากการพยายามลองผิดลองถูก เพราะตอนทำเพลงกับวง เขาสามารถใส่ตัวตนลงไปได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่พอมาทำเพลงเอง เขาก็ต้องหาวิธีแสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำเพลงคนเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
“ตอนแรกผมยังฟังตัวเองไม่รู้เรื่องเลย (หัวเราะ) กว่ามันจะออกมาเป็นเพลง เราก็ต้องหาเสียงในแบบของตัวเองให้เจอก่อน ต้องทดลองร้องภาษาอังกฤษหลายๆ แบบ นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามทำ และต้องทำให้ได้ ส่วนการเขียนเพลง ผมนึกอะไรออกก็จด จดแล้วก็เขียนๆๆๆ ออกมา ซึ่งใช้เวลานานมากกว่าจะเป็นประโยค แล้วก็เป็นบาร์ 4 บาร์ 8 บาร์ ทั้งหมดเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับผม เพื่อที่จะค้นหาตัวเองในแบบ DABOYWAY แต่พอกลับมาทำเพลงกับกลุ่ม มันก็ต้องหาเวลามาจูนกันอีก
“แต่ก็ยังดีที่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราจะต้องทำเพลงแบบไหนยังไง เพื่อที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงผ่านบทเพลงออกมาให้ได้ชัดที่สุด”
ฮิปฮอปกับวัฒนธรรมย่อยในสังคมไทย
ดนตรีฮิปฮอปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมกระแสหลักมานานแล้ว ยิ่งในปัจจุบันมีแร็ปเปอร์เป็นจำนวนมาก ทั้งแบบศิลปินเดี่ยวและศิลปินกลุ่ม ทั้งในวงการเพลงร็อกและเพลงป๊อป โดยเฉพาะในวงการเพลงเคป๊อป
และเมื่อไม่นานมานี้ ฮิปฮอปก็เข้าไปมีส่วนในการพูดถึงวัฒนธรรมย่อยของไทย จนกลายเป็นกระแสไปทั่วประเทศ กับเพลง ‘ธาตุทองซาวด์’ ของแร็ปเปอร์หนุ่ม YOUNGOHM เราจึงอยากรู้ว่า DABOYWAY ที่อยู่ในวงการมานาน มีความเห็นอย่างไรกับกระแสความนิยมอันล้นหลามนี้
“มันเป็นแบบนี้ทั่วโลกครับ ไม่ใช่แค่ในไทย การที่ฮิปฮอปเข้าไปสู่วัฒนธรรมย่อย หรือว่าสังคมท้องถิ่น มันได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไล่จากอเมริกาที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้ไปสู่ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งปีนี้ฮิปฮอปมีอายุ 50 ปีแล้ว และผมมองว่าวัฒนธรรมป๊อปทั่วโลกก็ได้รับอิทธิพลมาจากฮิปฮอป เพราะสิ่งละอันพันละน้อยในวัฒนธรรมป๊อปจะมีรากของฮิปฮอปซ่อนอยู่ โดยเฉพาะในสังคมไทย ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา”
“ผมคิดว่ามันไม่น่าจะมีวัฒนธรรมดนตรีไหนอีกแล้ว ที่จะสร้างวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่มให้กับผู้คนในสังคมได้ดีเท่าวัฒนธรรมฮิปฮอป ซึ่งฮิปฮอปก็สร้างหนทางให้ผู้คนสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ คือถ้าจะทำเพลง เราก็สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็นการร้อง, โปรดิวซ์, เต้น ทุกๆ อย่าง คุณไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนก็ได้ แต่ถ้าคุณมีไอเดียแล้วทำมันออกมาให้ดีด้วยสมอง ความพยายาม และความมุ่งมั่น อะไรก็เกิดขึ้นได้”
นั่นหมายความว่าในมุมมองของ DABOYWAY ฮิปฮอปเป็นรากฐานของวิถีชีวิตของคนบางกลุ่ม ทั้งในวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อยหรือเปล่า – เรายิงคำถาม
“ใช่เลยครับ ฮิปฮอปเป็นวัฒนธรรมของท้องถนน (street culture) และมันก็หวนคืนสู่วิถีชีวิตของผู้คน คนบางคนชีวิตมันเริ่มจากศูนย์เลยนะ แต่ฮิปฮอปมันทำให้คนที่ไม่มีอะไรเลย มีอะไรขึ้นมาได้ เริ่มจากอเมริกาที่สร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นมา และส่งออกไปสู่ตลาดต่างๆ ตอนแรกมันอาจจะเป็นแค่แฟชั่น แต่ตอนนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคนไปแล้ว ไม่ว่าใครๆ ก็เข้าถึงฮิปฮอปได้
“แต่ก่อนนะครับ ผมมาเมืองไทยแล้วเห็นเด็กอายุ 15-16 ไม่ได้ทำงาน ต้องขอตังค์พ่อแม่ ส่วนคนที่ไปหางานพาร์ตไทม์ทำ สังคมกลับมองไม่ดี แต่ในอเมริกา ถ้าคุณอยากได้รองเท้า อยากได้อะไร ก็ไปทำงานหาเงินซื้อเอาเอง ซึ่งในตอนนี้คุณสามารถหาเงินจากทางอื่นได้อีกเยอะเลย จะไปเป็นช่างภาพ, ตัดต่อมิวสิกวิดีโอ, ทำเสื้อผ้า, เป็นสไตล์ลิสต์, ขายสินค้าที่ระลึกในคอนเสิร์ต และอีกหลายอย่าง ในมุมของผมมันคือเรื่องไลฟ์สไตล์ นี่แหละคือสิ่งที่ฮิปฮอปทำได้สำเร็จ มันคือการสร้างตัวเองจากศูนย์ให้มีทุกอย่างที่ตัวเองต้องการในแบบฉบับของตัวของคุณเองจริงๆ ไม่ว่าจะต้องแลกมาด้วยอะไรก็ตาม
“ผมคิดว่ามันไม่น่าจะมีวัฒนธรรมดนตรีไหนอีกแล้ว ที่จะสร้างวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่มให้กับผู้คนในสังคมได้ดีเท่าวัฒนธรรมฮิปฮอป ซึ่งฮิปฮอปก็สร้างหนทางให้ผู้คนสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ คือถ้าจะทำเพลง เราก็สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็นการร้อง, โปรดิวซ์, เต้น ทุกๆ อย่าง คุณไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนก็ได้ แต่ถ้าคุณมีไอเดียแล้วทำมันออกมาให้ดีด้วยสมอง ความพยายาม และความมุ่งมั่น อะไรก็เกิดขึ้นได้” DABOYWAY เล่าถึงความสำคัญของวัฒนธรรมฮิปฮอปด้วยน้ำเสียงจริงจัง
23 ปีแห่งความภาคภูมิใจ และแผนการในอนาคตของ DABOYWAY
DABOYWAY ยังตอบคำถามอีกหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการได้ขึ้นเวทีคอนเสิร์ตของ The Rolling Loud Thailand เทศกาลดนตรีฮิปฮอประดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ไทยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเขาบอกว่า ภูมิใจมากที่คนไทยและชาวต่างชาติมาดูโชว์ของวง Thaitanium กันมากมาย
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 23 ปีที่อยู่ในวงการมา วงของเขาได้รับการยอมรับอย่างสูง และการที่ชาวต่างชาติพูดถึงประเทศไทยในนามของ ‘ฮิปฮอป’ ก็ทำให้เขาและเพื่อนๆ ร่วมวงปลื้มมาก เพราะทุกคนอยู่ในวงการมาตั้งแต่แรกเริ่ม
ส่วนตัว DABOYWAY ถ้าเป็นไปได้ เขาก็อยากจะจัดโชว์ที่ไม่ใช่การถูกจ้างไปเล่นในคลับ แต่เป็นการจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวที่มีคอนเซปต์เฉพาะของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ แต่เป็นเวทีเล็กๆ ที่เขาได้ใกล้ชิดกับแฟนเพลง ก็เพียงพอแล้ว
“เดี๋ยวอีกไม่นาน ผมจะเริ่มปล่อยซิงเกิลใหม่ออกมาให้ฟังกันเรื่อยๆ ครับ เพราะตอนนี้ผมสต๊อกเพลงเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งผมเชื่อว่าทุกคนจะรู้สึกเซอร์ไพรส์ เพราะเพลงที่ผมทำมันกระจายไปในหลายแนวดนตรีเลย ไม่ได้เป็นแค่แนวฮิปฮอปอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น แทร็ป, โซล, อาร์แอนด์บี, แร็ป, ป๊อป หรือร็อก
“สุดท้ายนี้ ผมอยากจะบอกทุกๆ คนว่า Can’t wait you guys to hear the music ขอบคุณมากครับ!”
