ขวากหนามหนังไทยใต้แฮชแท็ก #แบนสุพรรณหงส์
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งมรสุมขวากหนามอย่างแท้จริง เพราะตลอดสามเดือนแรกของปี 2566 วงการหนังไทยต้องเผชิญปัญหา ลุยฝ่าอุปสรรคมากมายต่อเนื่อง ชนิดแทบไม่ได้หยุดพักหายใจ เพราะล่าสุด เกิดแฮชแท็กร้อน #แบนสุพรรณหงส์ หลังจากที่หนึ่งในทีมผู้สร้างหนังเรื่อง ‘เวลา’ (Anatomy of Time) โพสต์ว่า หนังของพวกเขาไม่ผ่านเกณฑ์การตัดสินของรางวัลสุพรรณหงส์ประจำปี 2565 เนื่องจากออกฉายไม่ครบทั้ง 5 ภูมิภาค
- กระแสวิพากษ์วิจารณ์หลังจากนั้น ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยสั่งสมมาจากข่าวปัญหาความไม่เป็นธรรมที่วงการภาพยนตร์ไทยเผชิญอยู่อย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายปีหลัง, ความไม่พอใจที่มีต่อสมาพันธ์ฯ กับรางวัลสุพรรณหงส์อยู่แล้วเป็นทุนเดิมด้วยหลากหลายเหตุผล และยิ่งเดือดดาลเมื่อคนทำหนังกับผู้ชมจำนวนหนึ่งพบว่า นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของสมาพันธ์ฯ ที่ต้องการบังคับใช้กติกาซึ่งจะส่งผล ‘กีดกัน’ หนังไทยกลุ่มใหญ่ออกจากเวทีที่เรียกตนเองว่า ‘รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ’
- ย้อนกลับไปช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2562 ปรากฏรายงานข่าวว่า สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติได้สอบถามไปยังผู้สร้างภาพยนตร์ไทยว่า ผลงานของพวกเขา “ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำหรือไม่” โดยเกณฑ์ดังกล่าวหมายถึงการได้เข้าฉายอย่างน้อยใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, นครราชสีมา, ชลบุรี และนครศรีธรรมราช หรือต้องมีจำนวนผู้ชมตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป
- แต่จากการสอบถามจากคนในแวดวง พบว่า ปี 2566 นี้ สมาพันธ์ฯ ได้ส่งลิสต์รายชื่อทั้งหมดว่า หนังเรื่องใดผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์ มาถึงทีมผู้สร้าง ต่างจากการสอบถามข้อมูลก่อนส่งเอกสารใบสมัครเมื่อครั้งปี 2562 – เมื่อกติกาที่ถูก ‘ชะลอ’ มาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี กลับคืนชีพมาใหม่โดยไม่มีการบอกกล่าว หรือแจ้งล่วงหน้า ส่งผลให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ความคิดเห็นตอบโต้ รวมถึงรายงานข่าวกรณี #แบนสุพรรณหงส์ จำนวนมาก จึงหวนกลับไปใช้ข้อมูลตัวเลข ‘50,000 คน’ และ ‘5 จังหวัด’ (แบบระบุชื่อ) ตามที่เคยปรากฏในข่าวปี 2562 ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ไปในบางส่วน
...
Author
ชญานิน เตียงพิทยากร
Cinephile ผู้เริ่มชีวิตขีดเขียนเรื่องหนังที่ Starpics มาจนถึง Thairath+ / นักวิจารณ์รางวัลชมเชยกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือฯ ปี 2018 และ 2020 / สภาพ: ไล่ดูหนังใกล้หมดอายุเรื่อยไปใน Netflix และ MUBI