Humberger Menu

Oppenheimer : ระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างตัวตน ในโลกที่เราทุกคนต่างเห็นแก่ตัว

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Subculture

Film & Series

Culture

23 ก.ค. 66

creator
ธีพิสิฐ มหานีรานนท์
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

LATEST

+

Subculture

STEP UP SIAM วัยรุ่น วัยเต้นแห่งสยาม

13 ก.ย. 67

Art & Performance
STEP UP SIAM วัยรุ่น วัยเต้นแห่งสยาม
morebutton read more
Summary
  • หลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โนแลน ทำหนังฟอร์มยักษ์อย่างไตรภาค The Dark Knight (2005-2012) ไปจนถึงขบวนหนังที่สร้างความท้าทายทางการรับรู้อย่าง Inception (2010), Interstellar (2014), Dunkirk (2017) และ Tenet (2020) สิ่งที่เราควรคาดหวังจาก Oppenheimer ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา อาจไม่ใช่แค่งานเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างทรงพลัง แต่ยังรวมถึงความโดดเด่นในแง่ของการตีแผ่ ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘สภาวะภายในจิตใจ’ ของตัวละคร โดยใช้เทคนิคสุดอลังการเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวขับเน้นอีกด้วย
  • หนังเล่าถึงชีวิตของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (รับบทโดย คิลเลียน เมอร์ฟี) นักฟิสิกส์สายทฤษฎีชาวอเมริกันที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ หลังจากที่เขาได้คิดค้นมันขึ้นมาได้สำเร็จ ผ่านการเป็นผู้นำทีมในโปรเจกต์แมนฮัตตันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับมือกับสิ่งต่างๆ หลังพบว่าสิ่งที่เขา ‘สร้างสรรค์’ ขึ้นนั้นได้มีส่วน ‘ทำลาย’ อะไรอีกหลายอย่างในเวลาต่อมา โดยเฉพาะชีวิตของผู้คนจำนวนหลักแสนในฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยนวัตกรรมชิ้นนี้ของเขาเมื่อปี 1945
  • Oppenheimer สะท้อนให้เห็นว่า แม้ลึกๆ แล้ว ออปเพนไฮเมอร์จะภูมิใจกับผลงานวิทยาศาสตร์ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขา ในฐานะ ‘นักวิทยาศาตร์ผู้ประสบความสำเร็จ’ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความเสียใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่สร้าง ‘หายนะครั้งใหญ่’ ขึ้นมาให้แก่โลก โดยมีเพียงความหลงใหลในฟิสิกส์ของตนเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนองจนอิ่มหนำสำราญ
  • สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ ในเรื่อง ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่าความดื้อด้านและเอาแต่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น อาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง

...



Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

“ตาคลี เจเนซิสเกิดขึ้นได้เพราะความหวังล้วนๆ เลยนะ” คุยกับ มะเดี่ยว - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล หัวหมู่ทะลวงฟันที่หวังอยากให้ตาคลี เจเนซิส ปักธงภาพยนตร์ไซไฟไทยในตลาดโลก

สรุปภาพเทศกาลคานส์ 2024: การเมือง เรื่องเพศ ประเทศภาพยนตร์

ขึ้นคานส์: 20 ปีที่ทั้งรักทั้งชังของเทศกาลหนังที่ (อาจจะ) สำคัญที่สุดในโลก

Morrison ภาพยนตร์จัดจ้านแสงสี ดั่งนิทรรศการศิลปะที่ทับซ้อนระหว่างความฝันและความจริง

500 Days of Summer 15 ปีที่เราเข้าใจมากขึ้นทีละนิดว่านี่แหละ ‘ความรัก’ และนี่แหละ ‘ความไม่รัก’

Follow

TRENDING

+
morebutton read more