ดูแลใจดวงน้อยไม่ให้พัง เมื่อเด็กๆ ป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ‘The Sick Child : ความเจ็บป่วยเรื้อรัง กับความหวังในการเติบโต’ เป็นชุดบทความ 3 ตอน ที่เราอยากชวนผู้อ่านมารับรู้ถึงอีกด้านหนึ่งของชีวิตผู้ป่วยเด็ก และครอบครัว ที่แม้จะไม่ค่อยถูกพูดถึงในสื่อมากนัก แต่ถึงอย่างนั้นก็ ‘มีอยู่จริง’ และการดูแลรักษาที่ยาวนาน ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของครอบครัวเหล่านี้ไม่มากก็น้อย
- ในบทความตอนที่ 2 นี้ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ถึงบทบาทของพ่อแม่ในการสื่อสารและให้กำลังใจเด็กป่วย เพื่อให้เด็กๆ มีกำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไป
- เพราะบ่อยครั้ง คำที่เราสื่อสารออกมา มักเกิดจากความเคยชิน มากกว่าต้องการจะสื่อความจริงๆ ทั้งคำว่า “ไม่เป็นไร” หรือ “เดี๋ยวก็หาย” เพราะแม้ว่าคำพูดเหล่านี้มาจากเจตนาที่ดี แต่สำหรับผู้ฟังที่กำลังเจ็บป่วย ไม่สบายกายไม่สบายใจ คำเหล่านี้มักส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งการบอกว่า “ไม่เป็นไร” แต่จริงๆ แล้ว ผู้ฟังรู้สึกว่า “เป็น” หรือ “เดี๋ยวก็หาย” ในขณะที่คนฟังรู้ดีว่า คงจะ “ไม่หาย” ง่ายๆ เพราะการสื่อสารด้วยเจตนาดี แต่ไม่ทันคิดให้รอบคอบเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อใจของเด็กป่วยได้
- จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจากโรงพยาบาลเด็ก แนะนำว่า หากต้องการให้กำลังใจเด็กๆ สามารถทำได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง “ท่าทีของพ่อแม่สงบ จะช่วยให้ลูกลดความวิตกกังวลได้ ซึ่งเมื่อผ่านการไปพบแพทย์ในแต่ละครั้ง และเด็กสามารถจัดการความกลัวได้ดีขึ้น พ่อแม่ควรชื่นชมลูกถึงความพยายามเอาชนะความกลัว ก็จะช่วยให้ลูกๆ ลดความวิตกกังวลได้”
- เพราะคำพูดและการเตรียมตัวของผู้ใหญ่รอบๆ ตัวเด็ก ทั้งผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเข้าใจพัฒนาการเด็ก มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้วันเวลายากลำบากของเด็กป่วยผ่านพ้นไปได้ง่ายขึ้น
...
Author
ภาวดี อภิบุญวัฒน์
อดีตนักเขียนในแวดวงแม่และเด็ก ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี และเป็นคุณแม่ของลูกสาว Homeschool