แม้เลยวัยเกษียณ แต่คนญี่ปุ่นก็ยังนิยมทำงานอยู่ ทางแก้ปัญหา ‘สังคมสูงวัย-ขาดแคลนแรงงาน’
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแรกๆ ในโลก ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี 1970 และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) มาตั้งแต่ปี 2007
- ในปี 2021 ญี่ปุ่นมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 36.4 ล้านคน คิดเป็น 29.1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก ตามมาด้วย อิตาลี และสเปน
- คนทำงานสูงวัยในญี่ปุ่นมีบทบาทในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2021 คนทำงานสูงวัย มีจำนวน 9.06 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 25.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 4 ของกำลังแรงงานเลยทีเดียว
- มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานสูงวัยในญี่ปุ่น ระบุว่า พวกเขายังคงทำงานต่อก็เพราะอยากใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และ 18.9 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า ต้องการหารายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัว
- ในแบบสอบถามของหน่วยงานภาคเอกชนที่ศึกษาการทำงานเป็นทีม พบว่าคนทำงานสูงวัยยังเปิดใจรับ 'ออฟฟิศไร้กระดาษ' และ 'ผู้บังคับบัญชาอายุน้อยกว่า' มีความกระตือรือร้นที่จะสื่อสารและเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
...
Author
วิทย์ บุญ
‘แรงงานรับจ้างอิสระ’ สนใจประเด็นแรงงาน และทำงานเรื่องนี้ร่วมกับสื่อ องค์กรพัฒนาเอกชน สถานศึกษา ฯลฯ มาตั้งแต่ปี 2549 จวบจนปัจจุบัน