Humberger Menu

รู้หรือไม่ หากออฟฟิศ 'หนาว' เกินไป ก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้

-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

Everyday Life

Lifestyle

15 ก.ค. 65

creator
กองบรรณาธิการ
BookmarkLineCopy
-ก
+
Light
Dark
ฟังบทความ

...

Summary
  • รู้หรือไม่ว่า การต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้อุณหภูมิที่ ‘หนาวเกินไป’ อันมีที่มาจากระบบเครื่องปรับอากาศรวมของออฟฟิศ เป็นเวลาวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานลดลงได้ด้วย!

...


ในห้วงยามที่หลายบริษัทเริ่มมีนโยบายให้พนักงานกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ที่ออฟฟิศแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มอีกครั้ง นอกจากการปรับตัวให้เข้ากับตารางการเดินทางและการเข้า-ออกงานเหมือนเมื่อครั้งก่อนเกิดวิกฤติโควิดแล้ว พนักงานหลายคนก็ยังต้องประสบพบเจอปัญหาจากการกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศอีกนับไม่ถ้วน 

โดยหนึ่งในนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องของการต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้อุณหภูมิที่ ‘หนาวเกินไป’ อันมีที่มาจากระบบเครื่องปรับอากาศรวมของออฟฟิศ เป็นเวลาวันละหลายชั่วโมง 

– ซึ่งรู้หรือไม่ว่า มันอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานลดลงได้ด้วย!

โดยเหตุผลง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งผลวิจัยอะไรให้มากความ ก็คือ อากาศที่หนาวจนเกินรับไหวนั้น มักทำให้ร่างกายของคนเราเกิดอาการสั่นเทิ้ม, มือ-เท้าเย็น, ปวดหัว และหายใจติดขัด หรือถึงขั้นมีน้ำมูกมาก่อกวน จนไม่สามารถคิดสร้างสรรค์ หรือทำงานได้เทียบเท่ากับตอนที่อยู่ในอุณหภูมิห้องปกติ

และปัญหานี้ ก็ยิ่งส่งผลเลวร้าย หากคุณทำงานอยู่ในเมืองร้อน แต่ออฟฟิศของคุณกลับเย็นยะเยือกราวกับเป็นคนละไทม์โซน เนื่องจากร่างกายของคุณต้องคอยปรับสภาพกับอากาศถึงสองแบบไปตลอดวัน ทั้งอากาศร้อนนอกออฟฟิศ และอากาศหนาวในออฟฟิศ ซึ่งหลายครั้งก็ทำให้ร่างกายของคนเราสับสนงุนงง และดูเหมือนจะไม่สบายเมื่อถึงเวลาเลิกงาน โดยบางคนก็อาจถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อเมื่อสิ้นสุดช่วงวันทำงานเลยทีเดียว


อย่างไรก็ดี มีข้อมูลทางการศึกษาวิจัยจากโลกตะวันตก พบว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ พนักงานเพศหญิงจะได้รับผลกระทบจาก ‘ความหนาวเย็น’ มากกว่าพนักงานเพศชาย [...] ฉะนั้น จึงมีโอกาสสูงที่อากาศอันหนาวเย็นจนเกินไปของออฟฟิศ จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเพศหญิงลดลงได้ง่ายกว่าพนักงานเพศชาย

share


อย่างไรก็ดี มีข้อมูลทางการศึกษาวิจัยจากโลกตะวันตก พบว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ พนักงานเพศหญิงจะได้รับผลกระทบจาก ‘ความหนาวเย็น’ มากกว่าพนักงานเพศชาย 

เนื่องจากการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในออฟฟิศโดยทั่วไป มักสอดรับกับสภาวะร่างกายของเพศชาย ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึก ‘สบายตัว’ มากกว่า – ถึงแม้ปัจจัยแวดล้อมของพนักงานชายกับพนักงานหญิงเหล่านั้นจะคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณไอน้ำในอากาศบริเวณโต๊ะทำงาน, ลักษณะของเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือแม้แต่ BMR (Basal Metabolic Rate - อัตราการเผาผลาญแคลอรีขั้นต่ำที่ร่างกายต้องใช้ในชีวิตประจำวัน) ภายในร่างกายของแต่ละคน

ทั้งนี้ก็เพราะอุณหภูมิโดยเฉลี่ยที่ผู้หญิงจะรู้สึกสบายตัวได้นั้น มักอยู่ที่ 24-25 องศาเซลเซียส ขณะที่ร่างกายของผู้ชายจะกำลังเย็นสบายอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่านั้นอีกราว 2.5 องศาเซลเซียส – เรียกง่ายๆ ว่า ร่างกายของผู้หญิงต้องการอยู่ในอุณหภูมิที่ ‘อุ่นกว่า’ นั่นเอง


ฉะนั้น จึงมีโอกาสสูงที่อากาศอันหนาวเย็นจนเกินไปของออฟฟิศ จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเพศหญิงลดลงได้ง่ายกว่าพนักงานเพศชาย

ข้อมูลอ้างอิงจากการศึกษาในข้างต้น ซึ่งเป็นการนำเอาชายและหญิงจำนวนหนึ่งไปนั่ง ‘ใช้สมอง’ ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำราว 16 องศาเซลเซียสนั้น ทำให้ผู้วิจัยค้นพบว่า ประสิทธิภาพในการใช้สมองระหว่างชาย-หญิงนั้น ถ่างห่างจากกันมาก แต่เมื่ออุณหภูมิอุ่นขึ้นทีละนิด ช่องว่างดังกล่าวก็ค่อยๆ หดแคบลง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น นอกจากบรรดาหญิงสาวในกลุ่มทดลองจะทำงานได้ ‘ดีขึ้น’ แล้ว ทั้งหญิงและชายก็ยังสามารถทำงานได้ ‘เยอะขึ้น’ ด้วย

หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานของคนเรา -โดยเฉพาะผู้หญิง- สามารถลดลงไปตามอุณหภูมิที่ต่ำลงของพื้นที่นั้นๆ นั่นเอง

ในยุคที่เราต้องคอยปรับตัวกับอะไรหลายอย่างรอบข้าง -ไม่เฉพาะแค่เรื่องงาน- แม้ว่ามนุษย์วัยทำงานหลายคนจะพยายามแก้ปัญหาเรื่อง ‘ออฟฟิศหนาวเกิน’ ด้วยตัวเอง โดยการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาขึ้น, ดื่มชา-กาแฟที่กรุ่นร้อน และพยายามลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสาย เพื่อหวังให้ร่างกายอบอุ่นมากพอที่จะสามารถทำงานต่อไปได้อย่างไม่ติดขัดตลอดทั้งวัน

แต่หากมีคนใจดีมาช่วยปรับอุณหภูมิให้ที่ทำงานของเรา ‘อุ่นขึ้น’ อีกสักนิด ก็คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว





Share article
  • Line
  • link

RELATED

+

ดีด้วยก็ได้ใจ เข้มใส่ก็ลาออก : เป็น ‘หัวหน้า’ ใครว่าสบาย บาลานซ์อำนาจยังไงไม่ให้งานพัง

Workcation เที่ยวไปด้วย-ทำงานไปด้วย …อาจไม่ ‘เวิร์ก’ อย่างที่คิด

‘สัตว์เลี้ยงในออฟฟิศ’ อีกหนึ่งแนวทางของ ‘สถานที่ทำงานยุคใหม่’

‘ล้อเล่น’ หรือ ‘ลวนลาม’ …สัญญาณว่ากำลัง ‘ถูกคุกคาม’ ในที่ทำงาน และการรับมือ

ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ หรือ Microstress เรื่องเล็กที่ดูเหมือนจัดการได้ แต่อาจสะสมจนเป็นเรื่องใหญ่ไม่รู้ตัว

ไทยรัฐออนไลน์ ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

ยอมรับ
Thailand Web Stat